ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เอื้องดอกมะเขือ

Main Article Content

สมพร ประเสริฐส่งสกุล
ซูไรดา มะ

บทคัดย่อ

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้เอื้องดอกมะเขือ โดยนำปลายใบ ข้อ และปลายยอด มาวางเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) เติม Benzyladenine (BA) และ Kinetin (KN) 5 ระดับ ความเข้มข้น (0.5, 1.0, 2.0, 4.0 และ 8.0 มก./ล.) และ 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) 4 ระดับความเข้มข้น (0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มก./ล.) ที่อุณหภูมิ 25 2 องศาเซลเซียส ความเข้มข้นแสง 2000 ลักช์ เป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน หลังวางเลี้ยงเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนปลายยอดมีการเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนได้ในอาหาร MS เติมชนิดและความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่างๆ ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ ในด้านจำนวนราก จำนวนใบ น้ำหนักสดและจำนวนหน่อในขณะที่ความสูงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในสูตรอาหารที่เติม BA 1.0 มก./ล. ให้ความสูง (5.83 ซม./ต้น) จำนวนใบ (5.50 ใบ/ต้น) และน้ำหนักสด (0.19 กรัม/ต้น) เฉลี่ยสูงสุด ส่วน 2,4-D 0.5 มก./ล. และ KN 0.5 มก./ล. ให้จำนวนราก (6.33 ราก/ต้น) และจำนวนหน่อ (4.67 หน่อ/ต้น) เฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ 

Article Details

บท
บทความวิจัย