การจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

นุรณี สือรี
ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
นิเลาะ แวอุเซ็ง

บทคัดย่อ

การศึกษาการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิม และนำไปส่การเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิม โดยเลือกบ้านเรียนผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตควบคู่กันในการเก็บข้อมูล จากการศึกษาพบว่า มุสลิมในอำเภอปายที่เป็นคนท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่มีความเคร่งครัดในศาสนา จึงเป็นเหตุผลพื้นฐานที่ทำให้เลือกจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนซึ่งสามารถบูรณาการศาสนาเข้าไปในทุกกระบวนทัศน์ของการเรียนการสอน โดยบ้านเรียนของมุสลิมในอำเภอปายมีความแตกต่างจากการเรียนในระบบโรงเรียนอย่างชัดเจน การจัดการศึกษาเป็นลักษณะรวมศูนย์ กล่าวคือจัดให้มีสถานที่หนึ่งในการนำเด็กที่เรียนในรูปแบบบ้านเรียนมาจัดการศึกษาร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนบ้านเรียนมุสลิมในปายมีสองระดับชั้น คือ ระดับประถม และระดับมัธยมบ้านเรียนมุสลิมในปายพบปัญหาในระยะเริ่มต้น เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐยังขาดความเข้าใจเรื่องการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน รวมทั้งครอบครัวบ้านเรียนมุสลิมที่ยังไม่เข้าใจระบบระเบียบราชการในการขออนุญาตจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานต่าง ๆ แนวทางในการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียนมุสลิมที่เหมาะสมคือการให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจระหว่างกันของตัวแทนบ้านเรียนและหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Binkasan, B. (2011). Education in Islam. Bangkok: Natwida printing office. (in Thai)
2.Chaleamchai, Y. & Chaleamchai, U. (2000). The research of model and homeschool development in Thailand. Bangkok: Prikwan graphic. (in Thai)
3.Nakamadee, B., Wongvirayut, C. & Kaivikaikoson, A. (2011). Achievement, adtitude and Satisfaction of nursing student thought by student centered learning model. Journal of Yala Rajabhat University, 6(1), 9-16. (in Thai)
4.Nakontap, A. (2000). The research of International experience homeschools. Bangkok: Office of the National Education Commission. (in Thai)
5.Narongraksakaet, I. (2008). The philosophy of Islamic Studies. Songkla: College of islamic studies, Prince of Songkla University. (in Thai)
6.Office of the Education Council. (2007). The research of homeschool associate: Management educational among Family, Educational Service Area and Network together. Bangkok: Prikwan graphic. (in Thai)
7.Pothisita, C. (2011). Science and Arts of qualitative research. (5th ed.). Bangkok: Amarinprinting. (in Thai)
8.Suraseing, J. (2014). The Model of Causal Effect Relation Between Change Managementand Educational Reform in the Second Decade of Welfare School Under The Jurisdiction of the Office of Basic Education Commission.
Journal of Yala Rajabhat University, 9(1), 64-84. (in Thai)