การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก

Main Article Content

สุนิสา สก๊อต
สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร
พัชรี ผลโยธิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารเพื่อกำหนดกรอบการวิจัยขั้นตอนที่ 2 การศึกษาสภาพการบริหารการจัดการศึกษาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ขั้นตอนที่ 3 การสร้างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยใช้รูปแบบการตรวจสอบโดยวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship model) และขั้นตอนที่ 5 การปรับปรุงรูปแบบและจัดทำรายงาน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบ ดังนี้ บุคลากร อาคารสถานที่ กิจกรรมการเรียนรู้การดูแลเด็กและเด็กพิเศษ โภชนาการ การบริหารจัดการศูนย์ฯ และการประเมินคุณภาพ การส่งต่อผู้เรียนสู่สถานศึกษาในระดับสูงขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครอง ศูนย์ฯ และชุมชน ปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของศูนย์พัฒนาเด็ก สุขอนามัยความปลอดภัยและการปฐมพยาบาล และหลักสูตรและแผนการพัฒนาเด็กที่โดดเด่น และผลยืนยันการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Boonyapo, S. (2012). The Administration Model for Excellence Basic Education School under The Primary Education Service Area Office. Dissertation. Department of Educational Administration, Silpakorn University. (in Thai)
2.Burisongnoen, W. (2009). Factors Affecting Managerial Effectiveness of Basic Schools in The Eastern Seaboard Development Area. Dissertation. Department of Educational Administration, Silpakorn University. (in Thai)
3.Dechsura, N. (2009). The Administrative Model for Early Childhood Laboratory School of Rajabhat Universities. Dissertation. Department of Educational Administration, Silpakorn University. (in Thai)
4.Eisner, E. W. (1976). Education connoisseurship and criticism: Their form and function in educational evaluation. Journal of Aesthetic Education,10(3/4), 135-150.
5.Hendrick, J. & Weissman, P. (2006). The Whole Child Development Education for the Early Years. Pearson/Merrill Prentice Hall. New Jersey The United State of America: Pearson Education, Inc.,
6.Jabbang, J. (2011). Developing Model for Efficiency in Education Following a Strategy to Develop The Small School by Participatory Action Research in Office of The Basic Education Commission. Dissertation. Department of Educational Administration, Burapha University. (in Thai)
7.Ministry of Education. (2003). National Curriculum on Early Childhood Education year 2003. Bangkok: Council Printing House. (in Thai)
8.Office of the Education Council. (2011). The Report of The Evaluation Research of Educational Management of Local Administration Organization. Bangkok: Prikwan Graphic Company limited. (in Thai)
9.Thongngam, W. (2011). The Model of Academic Administration in Bangkok Metropolitan Administration School. Dissertation. Department of Educational Administration, Silpakorn University. (in Thai)
10.Ungkanawin, K. (2014). A Strategic Model for The Development of Private Vocational Institutions, Ministry of Education. Dissertation. Department of Educational Administration, Burapha University. (in Thai)
11.Veerapongporn, P. (2012). Factors Affecting to Educational Administration of Earlychildhood Level in Entrepreneurial Firm. Dissertation. Department of Educational Administration, Silpakorn University. (in Thai)