สภาพการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

สวพร จันทรสกุล
ขวัญตา ทวีสุข
ซูไรดา เจะนิ
ปองทิพย์ หนูหอม
โสภณ พฤกษวานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง สภาพการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของนักศึกษาที่ใช้ภาษามลายูถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ภาษาไทยในเฟซบุ๊กของนักศึกษามุสลิม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2) เพื่อศึกษาลักษณะการปนของภาษามลายูในภาษาไทยในเฟซบุ๊กของนักศึกษาเชื้อสายมลายู มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาสายภาษาได้แก่สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษและภาษามลายู สาขาละ 10 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน และข้อความบนกระดานสนทนาเฟซบุ๊กของนักศึกษา เครื่องมือที่ใช้แบบสำรวจความคิดเห็นในการใช้ภาษาในการสื่อสารของนักศึกษามุสลิม และแบบบันทึกการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า คำที่เขียนผิดมากที่สุด เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ได้แก่ ไลก์ (like) อินบ็อกซ์ (inbox) แธงค์ไลค์ (thank like) และแฮพพีเบิร์ดเดย์ทูยู (Happy birthday to you) คิดเป็นร้อยละ 100 กล่าวคือนักศึกษาเขียนผิดทุกคนและพบว่า คำบางคำในรูปคาภาษาไทย นักศึกษามักเติม “ห์” ท้ายคำเนื่องจากภาษามลายูเมื่อแปรเป็นเสียงที่เกิดจากฐานกรณ์ช่องว่างระหว่างเสียง /h/ ในภาษามลายูปัตตานี เช่น malas (เกียจคร้าน) เขียนเป็น มาละฮ จึงทำเกิดความสับสนต่อการใช้ภาษาไทยมาตรฐานต่อมา ลักษณะการปนของภาษามลายูในภาษาไทย พบว่า การใช้ภาษามลายูปนในภาษาไทยมีรูปประโยคตรงตามหลักไวยากรณ์ภาษามลายู แต่เมื่อถอดความเป็นภาษาไทยกลับพบว่าไม่ตรงตามหลักไวยากรณ์ไทย การปนภาษามลายูในภาษาไทยจะใช้คำที่แปลตามตัว อาจเนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างของการใช้ภาษาในการแปลถ้อยคำภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาไทยแบบตรงตัว จึงทำให้เกิดรูปประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Aonpraiwan, D. (2013). The use of language in Thailand online media discussions of student grade 6 [Online]. Retrieved September 5, 2014, from: http://www.swis.act.ac.th/ html_edu/act/temp_emp_research/2120.pdf. (in Thai)
2.Educational Services. (2016). The education database. Retrieved December 26, 2016, from: Educational Services, Yala Rajabhat University. (in Thai)
3.Masor, R. (2013). The Situation of Code-Mixing between Patani Malay and Thai by Patani Malay Speaking People in Pattani Province [Online]. Retrieved September 5, 2014, from: http://www.sh.mahidol.ac.th/file_content/picture_content_9820160504113737.pdf. (in Thai)
4.Purim. (2013). Thailand populations Malays [Online]. Retrieved September 8, 2014, from: http://purimarm.wordperss.com/ประชากร. (in Thai)
5.Sueroj, K. (2013). Communication behaviors of adolescents in public areas on the social networking Web site online Facebook [Online]. Retrieved September 5, 2014, from: http://203.131.210.100/research/?p=182. (in Thai)
6.Tuaycharoen, P. (2004). Overview of the study Phonetics and Linguistics. (3rd printing). Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
7.Watcharasukhum, S. (2012). The issue of student language use Thailand Thailand Malays in the three southern border provinces. Researchers estimated the annual budget to 2012. Yala: Yala Rajabhat University. (in Thai)