การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถาน : กรณีศึกษาโบราณสถานบ้านจาเละ ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

ศรีประไพ อุดมละมุล
ซูลฟีกอร์ มาโซ
เวคิน วุฒิวงศ์
สุพัตรา รุ่งรัตน์
จริยา วงศ์กำแหง
ซอฟียะห์ แชลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ ผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ เจ้าหน้าที่ดูแลโบราณสถาน และประชาชนกลุ่มละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการประชุมกลุ่ม จำนวน 3 ประเด็น คือ (1) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ (2) ความต้องการในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ และ (3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ รวมทั้งการจัดเวทีประชาคม เพื่อหาข้อสรุปของข้อมูลให้สมบูรณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปประเด็นจากการประชุมกลุ่มและการจัดเวทีประชาคม ผลพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติ ความเชื่อของศาสนา ความรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม กฎระเบียบ ข้อบังคับ สภาพภูมิทัศน์ การบริหารจัดการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ส่วนความต้องการในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ปรับสภาพภูมิทัศน์ พิพิธภัณฑ์ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ บูรณะโบราณสถานเพิ่ม และการบริหารจัดการ สำหรับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโบราณสถานบ้านจาเละ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ปรับสภาพภูมิทัศน์ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ และงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Chantarattana, R. (2015). Factors Influencing Lateral Thinking of Student in Yala Rajabhat University. Journal of Yala Rajabhat University, 10(2), 91-106. (in Thai)
2.Iamsaard, B. (2010). Participatory Conservation Guidelines of the Historical Sites at Wat Chulamunee, Tambon Ongkharak, Angthong Province. Master’s thesis. The course of Strategic Development, Phranakon Si Ayutthaya Rajbhat University. (in Thai)
3.Fine Arts Department. (2005). The Model Scheme of The Conservative and Development of Ancient Remain Project in Yarang, Pattani Province. (adjust edition). Bangkok: Samaphan Print. (in Thai)
4.Kongvee, S. (2007). People’s participation in the administration of archaeological monuments in the old city of Changwat Lamphun and neighboring area. Master’s Thesis. Chiangmai University. (in Thai)
5.Khuaphan, W. (2011). Guidelines for the Rehabilitation of Old Communities: Singh-Tha, Yasothon Province. Master’s Thesis. Faculty of Architecture, Urban Design and Creative Arts, Mahasarakham University. (in Thai)
6.Pimpises, N. (2011). Management guideline for ancient monuments in Uttaradit province. Master’s Thesis. Faculty of Graduate School of Culture Management, Silpakorn University. (in Thai)
7.Siripun, A. (1999). The Management of Ancient Monument and Environment by the Government and community: A Case Study of the Moat and Old Wall in Pongsanuk Community Area, Muang District, Lampang Province. Master’s Thesis. The Graduate School of Human and Environment Management,
Chiangmai University. (in Thai)
8.Thongsuksangcharoen, R. (1999). Problem perception and participation in archaeological site conservation of people in Phra Nakhon Si Ayuthaya archaeological area. Master’s Thesis. The Graduate School of Environment Study, Mahidol University. (in Thai)
9.Swangsri, P. (2009). Area Management Guidelines of Cheingsan Historical City through Local Community Participatory Process. faculty of architecture urban design and creative art, Mahasarakham University. (in Thai)