องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตภาคใต้

Main Article Content

เชาวนี แก้วมโน
สุจิตรา จรจิตร
เรวดี กระโหมวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ และกลวิธีการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ วิธีการวิจัยใช้แบบผสมวิธี มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้โดยการศึกษาเอกสารและรวบรวมผลสัมภาษณ์กลุ่ม 2) วิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ จำนวน 888 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงสำรวจ 3)ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ กลุ่มผู้รู้ชัด ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่มีผลการเรียน 3.00 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) จำนวน 50 คน และ 4) ศึกษากลวิธีการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักเรียนชั้น ม.6 และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 56 คน เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิง เนื้อหา พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เขตภาคใต้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก 15 องค์ประกอบย่อย 105 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการทดสอบความเที่ยงตรงตามสภาพกับกลุ่มผู้รู้ชัด (Known Group) เห็นด้วย 76 ตัวบ่งชี้และไม่เห็นด้วย 29 ตัวบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอยู่ที่ไม่ต่ำกว่าระดับ .05 และ 3) กลวิธีการพัฒนาตัวบ่งชี้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อพบว่า มีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ 4 ด้าน 11 กลวิธี ได้แก่     1) ด้านทุนการศึกษา 4 กลวิธี 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ 4 กลวิธี 3) ด้านกิจกรรม 2 กลวิธี และ 4) ด้านเครือข่ายศิษย์เก่า 1 กลวิธี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ (2556). ไทยรั้งท้ายอาเซี่ยน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557, จาก : http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=34102&Key=hotnews.
2.จารุวรรณ เป็งมล. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(41), 201-222.
3.จันทนา เลาหกุลเวทิต. (2550). การศึกษาปัจจัยพื้นฐานสู่ความสำเร็จในด้านการให้ความสำคัญกับลูกค้า และบริการ องค์กรระดับโลกที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4.ช่อทิพย์ เขตจำนงค์. (2552). สภาพการดำเนินงานตามวงจรการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎลพบุรี.
5.ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ. (2554). มหาวิทยาลัยไทยในยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ : จุดปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มหาวิทยาลัยไทยบนความท้าทาย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 1, 2-10.
6.พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2550). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7.ธีรเดช สายเส็น. (2555). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะเด่นชัดเฉพาะของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนยอดนิยม ภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยวงชวลิตกุล.
8.ธันวิน ณ นคร. (2554). ทรรศนะของนักเรียนที่มีต่อการจัดบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนดีบุกพังงานวิทยายน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
9.วจนะ ภูผานี. (2555). กลุ่มอ้างอิงและพฤติกรรมผู้บริโภค [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556, จาก : http://www.slideshare.net/kingkongzaa/reference-group-and-consumerbehavior-ch4.
10.วิทวัส สัตยารักษ์. (2552). กลยุทธ์การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยเอกชน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
11.วันฉัตร ทิพย์มาศ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนของนักเรียน ในเขตภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
12.วันชัย แก้วนาคแนว. (2550). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาและประเมินผลการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
13.ศศิธร สุภาวรรณ . (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม เพื่อความงาม (Beauty Drink) ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
14.สมัย พันธ์สอาด. (2553). แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวัดและการประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
15.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2557, จาก : http://www.mua.go.th/
16.สุนันทานิวส์. (2554). มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2557, จาก : http://www.sunandhanews.com/2011-10-14-04-42-40/37-article/1592-2011-07-17-05-16-16.html.
17.สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2549). อาเซียน 2015 กับอุดมศึกษาไทย [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2557, จาก : file:///C:/Users/Administrator/Downloads/acitWed131954%20(2).pdf.
18.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2554). การตลาดของสถานศึกษา. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
18.Aaker, D. A. (2011). Building Strong Brands. Bath: CPI Bath Press.
19.Lamb, C. W., Hair, J. F. & McDaniel, C. D. (2000). Marketing. Cincinnati: South-Western College Pub.
20.Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Pearson Education.
21.Hoffer, J. A., George, J. F. & Valacich, J. S. (2004). Modern Systems Analysis And Design. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
22.Hunter, Madline (Madeline C). (1995). Motivation Theory for Teachers. Thousand Oaks, Calif: Corwin.
23.Knowles, A. S. (1997). The International Encyclopedia of Higher Education. (5th ed.). San Francisco: Hamilton.
24.Kotler, P. & Armstrong, G. (2004). Principles of Marketing. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
25.Kotler, P. & Fox, Karen F. A. (1985). Strategic Marketing for Educational Institutions. New Jersey: Prentice – Hell.
26.Private University Industry. (2010). วิเคราะห์มหาวิทยาลัยเอกชน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556, จาก : http://it.scribd.com/doc/35646704/วิเคราะห์มหาวิทยาลัยเอกชน#scribd.
27.Schiffman, L. & Kanuk, L. (1991). Consumer Behavior. Englewood Cliffs: Prentice-Hill.
28.Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (2000). Consumer Behavior. (7thed.). New Jersey: Prantice-Hall, Inc.