การเสริมสร้างบทบาทขององค์กรชุมชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สถาพร เริงธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการพัฒนากระบวนการทำงานด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลนครขอนแก่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรชุมชน และการกระจายอำนาจให้องค์กรชุมชนรับผิดชอบในการจัดทำบริการสาธารณะบางอย่างแทนเทศบาล วิธีการศึกษาใช้วิธีการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 63 คน โดยคัดเลือกจากชุมชนทั้งหมด 9 ชุมชน จากการศึกษาพบว่า องค์กรชุมชนได้มีการดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดโดยเริ่มต้นจากการจัดทำแผนชุมชน การรับรองแผนชุมชน การนำเสนอแผนให้เทศบาลพิจารณา การปรับปรุงแก้ไขแผนการปฏิบัติการตามแผน และการกำกับติดตาม ประเมินผลร่วมกับเทศบาล ผลที่เกิดขึ้นคือ ทำให้ประชาชน และองค์กรชุมชนที่มีความเป็น พลเมืองผู้มีความรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเอง และสามารถพึ่งพาตนเองเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ ให้กับชุมชนของตนเองได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำเอาผลการศึกษานี้ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลการศึกษานี้เสนอว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา หรือมอบหมายให้หน่วยงานภายในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนเป็นการเฉพาะ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องมีการสร้างระบบการประเมินการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร ให้สามารถใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรชุมชน ในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหาอุปสรรคในการทำางาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2554). ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง : ความหมายและตัวชี้วัดจากความเห็นของผู้นำชุมชน. ข่าวชุมชนปฏิรูปประเทศไทยให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง, 130, 5-8.
2.อคิน ระพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคม และวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
3.Botha, T. (1999). Civic Associations as Autonomous Organs of Grassroots’ Participation. Journal of Social and Political Theory, 79, 57-74.
4.Bowles, S. & Gintis, H. (2002). Social Capital and Community Governance. The Economic Journal, 112(483), F419-F436.
5.Moore, A. B. & Brooks, R. (2000). Learning communities and community development: Describing the process. Tasmania: Centre for Research and Learning in Regional Australia.
6.Nalbandian, J. (1999). Facilitating Community, Enabling Democracy: New Roles for Local Government Managers. Public Administration Review, 59(3), 187-197.