ความรู้เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และการประยุกต์ ใช้เทคนิคการชี้บ่งอันตรายของลูกจ้างและนายจ้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา

Main Article Content

กิตติวงค์ สาสวด
จารุต ฐิติวร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างและนายจ้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2. เพื่อศึกษาระดับการสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ทำงานของลูกจ้างและนายจ้างของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3. เพื่อพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความรู้เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน โดยประยุกต์ ใช้เทคนิคชี้บ่งอันตราย : การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis: JSA) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นายจ้าง 54 ราย และลูกจ้าง 540 ราย ในจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ (1) พนักงานได้ศึกษาคู่มือความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติตามคู่มือนั้น (2) พนักงานได้ตักเตือนและแนะนำเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับความปลอดภัย และ (3) พนักงานได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุทุกชนิดที่องค์กรจัดเตรียมไว้ ให้ 2) ระดับการสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างพิจารณาจากค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ (1) การจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย (2) การจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และ (3) การจัดกิจกรรม 5 ส. 3) แนวทางในการเสริมสร้างความรู้เพื่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงานมีดังนี้ (1) จัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัย (2) ให้มีการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับพนักงานให้เพียงพอ (3) จัดทำมาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2543). การระงับอุบัติภัยจากสารเคมี. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.
2.บุญลือ ฉิมบ้านไร่. (2539). ปัจจัยด้านการบริหารคนงาน และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทางาน : เปรียบเทียบระหว่างสถานประกอบการปั๊มโลหะที่มีอัตราความถี่ของการบาดเจ็บสูงและตํ่า
จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
3.รัตนวรรณ ศรีทองเสถียร. (2542). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ระบบความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตจิตวิทยาอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4.รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2537). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษา. ชลบุรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
5.ศุภวัฒน์ เตชะพิทักษ์. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โคราช เดนกิ จำกัด (K2). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
6.สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย ). (2554). การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis). สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2554, จาก : www.shawpat.or.th.
7.สมถวิล เมืองพระ. (2537). การศึกษาพฤติกรรมอนามัยของคนงานในระดับปฏิบัติการเรื่องการป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์ เขตอำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
8.สำนักงานกองทุนเงินทดแทน. (2557). สถานการณ์สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานปี 2552-2556. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคม.
9.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2556). สถานการณ์เชิงโครงสร้างของ SMEs [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2557, จาก : http://www.sme.go.th/th/images/data/SR.
10.อุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์. (2554). การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน. วารสาร มฉก. วิชาการ, 14(28), 233-245.
11.Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.