ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีต่อตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ของลูกค้าในเขตจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

ดวงฤดี อุทัยหอม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นต่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ ความพึงพอใจ และความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ของลูกค้าในเขตจังหวัดภาคใต้ 2) เพื่อเปรียบเทียบความภักดีของลูกค้าต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าของบริษัทหาดใหญ่ ออโต้ โมบิล จำกัด จำนวน 252 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่นต่อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ ความพึงพอใจ และความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ อยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 4.15, 4.20, 3.98 และ 4.00 2) ลูกค้าที่มี เพศ ช่วงอายุ จำนวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ที่ครอบครอง และระยะเวลาที่ครอบครองรถยนต์วอลโว่คันปัจจุบันต่างกัน มีความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายไม่แตกต่างกันทั้งในภาพรวมและภาพย่อย 3) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายความภักดีต่อการใช้บริการตัวแทนจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่ได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คือ ความพึงพอใจด้านสถานที่จัดจำหน่ายและการบริการ (X2) ความเชื่อมั ่นต่อรถยนต์นั ่งส่วนบุคคลวอลโว่ (X3) ความพึงพอใจด้านราคา (X1) ความพึงพอใจด้านคุณภาพสินค้าและบริการ (X5) ภาพลักษณ์ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลวอลโว่(X6) และความพึงพอใจด้านการให้บริการข้อมูลและข่าวสาร (X4) มีสมการทำ านาย คือ Y = .167 X1 +.257X2 +.192 X3 +.130 X4 +.136 X5 +.131 X6

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2.จิตโสภณ วอนิล. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ ความเชื่อมั่น และความพึงพอใจที่มีต่อความภักดีของลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3.ธีรพันธ์ โล่ทองคำ. (2547). ความภักดีของลูกค้า [Online]. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2557, จาก : http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov30p5.htm.
4.ประจวบ อินออด. (2532). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
5.ภาวิดา จีนะวัฒน์. (2548). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวไทยต่อผลการจัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณชายหาดพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
6.ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์์พับลิเคชั่นส์์.
7.วุฒิพร ลูกบัว. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อองค์กรกับความภักดีต่อตราสินค้าของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการการตลาด). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8.ศิริพงษ์ จีนะบุญเรือง. (2542). ความสัมพันธ์ของการรับรู้ราคา ตรายี่ห้อสินค้า และการรับรู้อิทธิพลของผู้อื่นกับความเต็มใจซื้อเสื้อผ้ามีตรายี่ห้อ. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
9.สถิติยอดขายรถยนต์ในตลาด ปี พ.ศ. 2556. (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2557, จาก : http://www.checkraka.com/news/car/1501001/.
10.สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2551). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามุสลิมที่ศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัย วิทยาลัยนอร์ทกรงเทพ.
11.สิริกุล พรหมชาติ. (2552). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัท 407 พัฒนา จำกัด. สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
12.เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด : วางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.
13.Anderson, E. & Weitz, B. (1992). The use of pledges to build and sustain commitment in distribution channels. Journal of Marketing Research, 29(1), 18-34.
14.Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley.
15.Doney, P. M, & Cannon, J. P. (1997). An Examination of the nature of trust in buyer-seller relationships. Journal of Marketing, 61(2), 35-51.
16.Flanagan, G. A. (1967). Modem Institutional Advertising. New York: McGraw-Hill, Inc.
17.Hawkins, L. D., Roger, J. B. & Coney, K. A. (2001). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy. (8th ed.). New York: The McGraw-Hill Companies Inc.
18.Morgan, R. & Hunt, S. (1994). The commitment-trust theory of relationship marketing. Journal of Marketing, 58(3), 20-38.
19.Kotler, P. (2000). Marketing Management, The Millennium Edition. New Jersey: Prentice Hall.
20.Zeithaml, V. A., Berry, L. L. & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46.