การพัฒนานักวิจัย : แนวทางที่เป็นไปได้

Main Article Content

ปรารถนา เอนกปัญญากุล

บทคัดย่อ

การพัฒนาประเทศให้พึ่งพาตนเองและสารมารถแข็งขันได้ในระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศมีองค์ประกอบในการพัฒนาหลายอย่าง องค์ประกอบที่เป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่ง คือ “การวิจัย” เพราะ “การวิจัย” เป็นการสร้างและพัฒนาความรู้ที่ทำให้มีแนวทางและวิธีการพัฒนาประเทศได้เร็ว อีกทั้งประหยัดงบประมาณ เวลาและทรัพยากร ซึ่งองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการวิจัย คือ “นักวิจัย” ที่ต้องพัฒนานักวิจัยมืออาชีพ (Professional Researcher) ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ บทความนี้ได้เสนอแนวทางในการพัฒนานักวิจัยให้เห็นเป็นที่ประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการวิจัยและนักวิจัยไทย ตลอกจนวิธีการพัฒนานักวิจัย เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนานักวิจัยที่เป็นไปได้ 4 แนวทาง คือ แนวทางแรก ควรมีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างเป็นระบบชัดเจนในทุกภาคส่วนของสังคม แนวทางที่สอง ควรมีระบบการสนับสนุนทุนการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพียงพอและเหมาะสม แนวทางที่สาม ควรมีการกำหนดภาระงานด้านการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์และบุคลากรสายปฏิบัติการทำงานวิจัยมากขึ้น แนวทางสุดท้าย ควรมีการสร้างบรรยากาศความตื่นตัวด้านการวิจัยขึ้นภายในองค์กร ร่วมทั้งการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่นักวิจัยในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมการชื่นชมผลงานนักวิจัยให้เกิดขึ้นในองค์กร และจัดทำฐานข้อมูลผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามควรจัดรูปแบบการพัฒนานักวิจัยที่มุ่งเน้นเรื่องการอบรมปฏิบัติการที่แท้จริง และสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านการวิจัยหลังปริญญา (Postgraduate Training Centre) เพื่อให้ได้นักวิจัยมืออาชีพอย่างเป็นรูปธรรม

Article Details

บท
บทความปริทัศน์