แหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

กมลรัตน์ คนองเดช

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยควรมีแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการจัดการการศึกษาระดับปฐมวัย  โดยการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างจากโรงเรียนจังหวัดยะลา  3  โรงเรียนที่มีบริบทไม่แตกต่างกันจากในโรงเรียนจังหวัดปัตตานี  และ  นราธิวาส  ครูปฐมวัย  จำนวน 9 คน นักเรียนปฐมวัยจำนวน 84 คน และนักศึกษาปฐมวัยจำนวน 52 คน โดยเปรียบเทียบทักษะค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูและนักศึกษาปฐมวัยก่อนและหลังการพัฒนา  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการพัฒนาทดสอบสมมุติฐานด้วยค่า t-test ชนิดข้อมูลสัมพันธ์กันด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows นอกจากนี้ได้ทำการสำรวจ สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบสามาเส้า  ผลการวิจัยพบว่าแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาปฐมวัย ในมาตรฐานที่ 1 มาตรฐานที่ 2 มาตรฐานที่ 4 มาตรฐานที่ 5 มาตรฐานที่ 6 มาตรฐานที่ 10 มาตรฐานที่ 14 มาตรฐานที่ 16  มาตรฐานที่ 17  และมาตรฐานที่ 18  สามารถยืนยันได้ว่าแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นแหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาได้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยระดับโรงเรียน  และเป็นแหล่งที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้แก่เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามข้อจำกัดในการนำเด็กออกไปศึกษานอกสถานที่ เนื่องจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และขาดงบประมาณในการดำเนินการ

Article Details

บท
บทความวิจัย