ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการที่มารดาไม่มาอยู่เฝ้าทารกแรกเกิดซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

Main Article Content

ยุคลธร ทองรัตน์
ทิพย์สุดา เส็งพานิช
สิรารักษ์ ศรีมาลา
ฝนทิพย์ ใคร่กระโทก
อรัญญา วิชิตนาค
วาสนา ภูววัฒนา

บทคัดย่อ

ทารกแรกเกิดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทำให้ต้องถูกแยกจากมารดา  ขาดปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง  ทารกอาจมีปัญหาในด้านพัฒนาการ  มาดาที่มาอยู่เฝ้าดูแลบุตรขณะเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดทำให้เกิดสายสัมพันธ์ระหว่างมารดากับทารกอย่างต่อเนื่อง  การที่มารดามาเฝ้าและไม่มาเฝ้าดูแลทารกแรกเกิดน่าจะมีเหตุปัจจัยหลายประการ  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะประชากรของมารดาที่ไม่มาเฝ้าและมาเฝ้าดูแลบุตร และสำรวจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาเฝ้าดูแลทารกของมารดา  โดยการสัมภาษณ์มารดาที่มีบุตรเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดจำนวน  47 ราย     ปรากฏว่ามารดาที่มาเฝ้าดูแลทารกร้อยละ  42.6  มารดาที่ไม่มาเฝ้าดูแลทารกร้อยละ  57.4  ลักษณะประชากรของมารดาที่ไม่มาเฝ้าดูแลทารก มีอายุระหว่าง  21  ถึง 35 ปี  ร้อยละ  74.1 จบมัธยมศึกษาร้อยละ  44.4  มารดาตั้งครรภ์แรกร้อยละ  48.1  คลอดทารกก่อนกำหนด เมื่ออายุครรภ์  28 ถึง 37 สัปดาห์ ร้อยละ  59.3  น้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่า  2,500  กรัม  ร้อยละ  77.7  เป็นครอบครัวใหญ่ร้อยละ  66.7  ส่วนมารดาที่มาเฝ้าดูแลทารกมีอายุระหว่าง  21 ถึง 35 ปี  ร้อยละ  60.0  จบมัธยมศึกษาร้อยละ  90.0  มารดาตั้งครรภ์แรกร้อยละ  65.0  คลอดทารกก่อนกำหนดเมื่ออายุครรภ์  28 ถึง 37 สัปดาห์ร้อยละ  55.0  น้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่า  2,500  กรัม ร้อยละ  65.0  เป็นครอบครัวใหญ่ ร้อยละ  91.7  นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ทาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรของมารดาที่ไม่มาอยู่เฝ้าดูแลทารกกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์ไม่ชัดเจน  (p value 0.15 - 0.42)  แต่สามารถประเมินได้ว่าลักษณะทางประชากรบางประการน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่มารดาไม่มาเฝ้าดูแลทารกซึ่งควรที่จะศึกษาในรายละเอียดต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย