การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมบนพื้น ฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว (Green Map) ของชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อใช้พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและทัศนคติของชุมชนในด้านการจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวและพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 3) ศึกษารูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ขอบเขตในการศึกษา คือ ชุมชนบ้านโปง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การทดสอบทักษะการกำหนดโปรแกรม และการสังเกตพฤติกรรมแบบมีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า ชุมชนได้ร่วมการสังเคราะห์ทรัพยากรที่มีอยู่ทำให้เกิดกระบวนการร่วมกันวางแผนพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว โดยโปรแกรมที่ถูกพัฒนาแล้ว คือ โปรแกรมศึกษาธรรมชาติ และโปรแกรมศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อโปรแกรมอยู่ในระดับมาก ระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และระดับทัศนคติต่อการเรียนรู้ด้านการจัดทำโปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในระดับดีมาก
รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนมีดังนี้ 1) กระบวนการ ได้มีการนำเอากระบวนการมีส่วนร่วมเข้ามาประยุกต์ใช้ตั้งแต่ร่วมคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ และติดตามประเมินผล 2) ผลผลิต คือ รูปแบบในการเรียนรู้ของชุมชนด้านการจัดทำ โปรแกรมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานข้อมูลแผนที่สีเขียว 3) ผลลัพธ์ ชุมชนได้ ตระหนักถึงบทบาทการเป็นเจ้าของในการดูแล จัดสรรและอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.Emphandhu, D. (2007). Community Based Tourism Development and Homestay Activities. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)
3.Opasruttanakorn, O., Buddharat, C. & Tongkhundum, T. (2006). Needs of Kiriwong People to Study English for Tourism Business. Journal of Yala Rajabhat University, 1(2), 112 -119.(in Thai)
4.Thongma, W. (2010). Community Based Tourism for improving the quality of life in the forest area [Online]. Retrieved September 12, 2013, from: http://www.dnp.go.th/fca16/file/i49xy4ghqzsh3j1.doc. (in Thai)
5.Toyota Motor Thailand Co., Ltd. (n.d.). Green Tools [Online]. Retrieved September 12, 2013, from:
http://www.toyota-sgw.net/library_greentools.php.
6.Trirat, S., Ponghan, S., Dangsuwan, M. & Ponghan, K. (2013). Green Map for Sustainable Management of Community Tourism Resources. Research report. Maejo University.
7.Wurzburger, R., Aageson, T., Pattakos, A. & Pratt, S. (2009). Creative Tourism, A Global Conversation. New Mexico, USA.: Sunstone press.