การศึกษาตำนานของข้าว ในวัฒนธรรมปกาเกอะญอ

Main Article Content

สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาตำนานความเชื่อในวิถีวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับข้าว และเพื่อทำความเข้าใจโลกทัศน์วิถีคิดของคนปกาเกอะญอที่แฝงอยู่ในตำนานข้าว เก็บข้อมูลโดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในประเพณีที่เกี่ยวกับข้าวตามวัฒนธรรมปกาเกอะญอ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้รู้เรื่องตำนานข้าวในวัฒนธรรมปกาเกอะญอจำนวน 14 คน แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา พบตำนานเกี่ยวกับข้าว 5 สำนวน จุดร่วมที่เหมือนกันคือเงินและข้าวที่ท้าทายกันว่าอะไรสำคัญกว่ากัน เดินเรื่องโดยมีข้าวกับเงินเป็นคู่ตรงข้ามมีคนเป็นตัวกลางที่เป็นผู้ตัดสิน และนกเป็นผู้แก้ไขสถานการณ์ โลกทัศน์ วิธีคิดคนปกาเกอะญอที่แฝงในตำนานข้าวได้แก่ 1. การปลูกฝังค่านิยมและรักษาบรรทัดฐานพฤติกรรมในสังคมปกาเกอะญอ ได้แก่ 1) ความสำคัญของข้าว อาหารหลักมากกว่าสิ่งอื่น 2) การรู้จักบุญคุณ 3) การทำบุญทำทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4) ความระมดั ระวงั การเตรยี มความพร้อม ไมป่ ระมาท 5) การอดทนกบั ความยากลำบาก 6) การเปน็ จติ อาสาทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม 7) การปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และ 2. การให้ความรู้และปัญญา แก่สังคมชนเผ่าปกาเกอะญอ ได้แก่ 1) การตระหนักรู้แนวทางการตัดสินใจเลือกรักษาและแสวงหาความมั่นคงทางอาหารเป็นอันดับแรกคือข้าว เลือกสิ่งที่กินก่อน ส่วนเงินเป็นสิ่งที่ใช้ มาทีหลัง 2) การใช้สติ ปัญญา ให้ถูกและเหมาะกับกาลเทศะและสถานการณ์ 3) การรักษาพื้นที่ดิน พื้นที่การเกษตร
โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าว 4) จิตสำนึกในการเคารพธรรมชาติ เพราะข้าวเกิดจากธรรมชาติส่วนเงินเกิดจากการสร้างและสมมุติขึ้นมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.Bascom, W. (1965). Four Functions of Folklore. Journal of American folklore, 67(266), 333-349.
2.Boonrahong, C. (2010). Organic Agriculture in Sustainable Agriculture System and Justice Marketing System. Community Capacity Building Foundation, Chiangmai: Kokayan Media.
3.Campbell, J. (2008). The power of myth (translate by Boon song, B). Bangkok: Amarin printing and publishing. (in Thai)
4.Kunkeaw, W. (2010). Gene actions for seed size of azuki bean growing in highland areas. Journal of Agricultural Science, 41(1), 67-74. (in Thai)
5.Na Talang, S. (2009). The theory of folklore Methodology to analysis myth and folktale. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
6.Payaksak, K. (2012). The Political Culture of Pgaz K’ Nyau Young Generation. Journal of Sociology and Anthropology, 31(2),139-168. (in Thai)
7.Sutiyanmanee, V. (2013). Rural to Urban: Factors and Effects from Migration. Bangkok: Kasembundit University. (in Thai)
8.Songpornwanich, S. (2011). Social Space of Community to Determine the Tourism. Community Base Tourist Institute, Chiangmai: Wanida Printing.
9.Tepsing, P & Bunprakarn, K. (2016). Local Wisdoms in Thailand-Malaysia Border Culture: A Case Study of Lohjood Community,Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 19-38. (in Thai)
10.Trakansupakorn, P., Kumponkul, T., Poka, S., Nikornaouychai, P., Jarernniyomprai, U., Slukkanok, B., et al. (2005). Rotational Farming Agriculture: Knowledge and Practical of Pgaz K’ Nyau Ethnic group in the North of Thailand. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (in Thai)
11.Wechapong, T., Panyahan, S., Janaupatham, P., Pleedok, H., Satjareon, B., Samson, P., et al. (2011). Pgaz K’ Nyau livelihood and rice plantation at Pa La Au Village, Houysatyai sub district, Hua Hin, Prachuap Khiri Khan province. Nakornpathom: Office of the Higher Education Commission (OHEC). (in Thai)
12.Wongjomporn, S. (2014). Pgaz K’ Nyau ways believe ceremony the relationship with nature and super nature. Chiangmai: Catholic Mission Chiangmai. (in Thai)