รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาวินัยนักเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนดีประจำตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาวินัยนักเรียน กรณีศึกษาโรงเรียนดีประจำตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 127 คน ครู 1,016 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา 1,143 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,286 คน ของโรงเรียนดีประจำตำบล จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการพัฒนา แบบประเมินผลการพัฒนาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาวินัยนักเรียน ด้านการนำองค์การ ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ด้านการมุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงาน ด้านการจัดการกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการและความจำเป็นการพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ความสำเร็จการพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อผลการพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาวินัยนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
3.กองวิจัยทางการศึกษา. (2545). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านความรับผิดชอบและมีวินัยในตนเอง. กรุงเทพฯ : การศาสนา.
4.ณรงค์ สายพิมทอง. (2545). การศึกษาพฤติกรรมกระทำผิดวินัยของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5.ธัญญาลักษณ์ เวชกามา. (2556). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้านท่าเยี่ยมวิทยายล จังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ.
6.เที่ยง แหวนวงษ์. (2546). การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียน โรงเรียนบ้านปลาดุก จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7.ณัฐวุฒิ บุรีแสง. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาวินัยนักเรียน โรงเรียนบ้านกุดจานสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 48(10),17-26.
8.ประสิทธิ์ ทองภู. (2556). การดำเนินงานเสริมสร้างวินัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านผือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2.ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
9.ปานธิพา สุวรรณแสง. (2549). การพัฒนาการดำเนินงานการเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการรักษาความสะอาด โรงเรียนอนุบาลศศิกานต์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี.
การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10.พระธรรมปิฎก. (2539). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
11.ภาคภูมิ อิ่มสะอาด. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,
12(2),142-149.
12.รัตนะ แสงทองทิพย์. (2548). การพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยในตนเอง ของโรงเรียนบ้านขาม อำเภอมหาชนะชัยจังหวัดยโสธร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
13.รัตน์มณี เข็มเวียง. (2549). การพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการรักษาความสะอาดของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาสีนวน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น.การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
14.วิฑูรย์ โพธิเตมีย์. (2548). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยของนักเรียนด้านการรักษาความสะอาด โรงเรียนแกเปะราษฎร์นิยม อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
15.สายัณห์ วงศ์สุรินทร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อพัฒนาความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
16.สิริกร สินสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 3. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์,
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
17.อภินันท์ ทวีเดช. (2556). เทคนิคการฝึกวินัยนักเรียน [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2556,จาก : http://gotoknow.org/blog/paew10/88340.
18.อัญชิสา สุรีย์แสง. (2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
19.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. (2553). นโยบายรัฐบาล [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2553, จาก : http://familynetwork.or.th.
20.Shipengrover, J. A. (1994). The Relationship of the Total Quality Management to the Implementation of the School Improvement Process in New York State Excelsior. Award - Winning School District. Dissertation of Doctoral degree. State University of New York.
21.Sterner, B. (2005). Ocular Accommodation: Studies of Amplitude, Insufficiency, and Facility Training in Young School Children. Dissertation International, 66(01),103.
22.Tantekin, F. (2002). The Attitudes of Early Childhood Teachers Toward Roles and Toward Discipline. Dissertation International, 63(02), 493.
23.Valett, R. E. (1986). Effective Discipline: 10 Steps to Successful Performances.
24.Resources in Educational Resources Information Center, 21(4),109.