เจ้าบ่าวน้อย : วีรบุรุษชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

จุรีรัตน์ บัวแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาการให้ความหมายเรื่องเจ้าบ่าวน้อยในฐานะวีรบุรุษชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่พึ่งทางใจของชาวพรุเตาะ ตำ บลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากชาวพรุเตาะ ผลการวิจัยพบว่า ชาวพรุเตาะได้ ให้ความหมายของเจ้าบ่าวน้อยว่า คือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่มีเทวดาสิงสถิตอยู่บนเขาควนจง เมื่อชาวพรุเตาะ มีความเดือดร้อนมักนิยมบนบานเจ้าบ่าวน้อยให้ช่วยปัดเป่าความทุกข์หรือช่วยเหลือในสิ่งที่ตนปรารถนา แม้กระแสสังคมแห่งความทันสมัยจะพัดพาความเจริญทางวัตถุเข้าสู่สังคมพรุเตาะอย่างไม่ขาดสาย แต่ความเชื่อและความศรัทธาในเจ้าบ่าวน้อยก็ ไม่เปลี่ยนแปลง อาจกล่าวได้ว่าเจ้าบ่าวน้อยจึงเป็นวีรบุรุษของชุมชนท้องถิ่นในฐานะ “ผู้คุ้มครอง” และ “สิ่งมงคล” ในสังคมของพรุเตาะตราบจนปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยาโครงสร้างนิยมหลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำ นักพิมพ์วิภาษา.
2.นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2536). วีรบุรุษในวัฒนธรรมไทย : ปาฐกถาพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 4[ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2536, จาก :
http://www.econ.tu.ac.th/journal/Material/Previous/PUY4.pdf.
3.นพดล ปรางค์ทอง. (2558). คตินิยม : วีรบุรุษท้องถิ่น [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2558, จาก : http://www.ysl-history.com/anali/002.doc.
4.นพดล วศินสุนทร. (2552). เรื่องมายากลกับมายาคติในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
5.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2529). “ความเชื่อชาวใต้” สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้.
กรุงเทพฯ : อัมรินทร์การพิมพ์.
6.พระยาอนุมานราชธน. (2532). งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน. (เล่มที่ 4). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.