การจัดการปุ๋ยในสวนยางพาราอย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แหล่งปลูกหลักอยู่ในภาคใต้ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกขยายไปทั่วประเทศ เนื่องจากราคาดี และให้ผลผลิตตลอดปี แหล่งปลูกยางพาราอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ดินเป็นกรด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมหากจัดการไม่เหมาะสม ธาตุอาหารพืชสูญเสียไปกับผลผลิตทั้งในรูปน้ำยางและไม้ยาง แต่บางส่วนหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ปลูกเนื่องจากยางพาราเป็นพืชผลัดใบมีอายุเก็บเกี่ยวหลายปี ในประเทศไทยปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้ในช่วงก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเก่า คือ ปุ๋ยผสมสูตร 20-8-20 และเขตปลูกยางใหม่คือ 20-10-12 การปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดินช่วยลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน และลดการเซาะกร่อนของดิน ส่วนปุ๋ยเคมีที่แนะนำสำหรับยางหลังเปิดกรีด คือ ปุ๋ยผสมสูตร 30-5-18 การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ยังมีข้อจำกัดทางปฏิบัติระดับไร่นา ปุ๋ยอินทรีย์ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกันโดยเฉพาะสภาพดินที่สมบัติทางกายภาพไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตามยังต้องศึกษาแนวทางการจัดการดินแบบผสมผสานเพื่อการผลิตที่ยั่งยืนต่อไป
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น