สิทธิในการแสวงหาความสุขมีผลบังคับตามหลักกฎหมายไทยเพียงใด
Main Article Content
บทคัดย่อ
สิทธิในการแสวงหาความสุขเป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการบัญญัติรับรองไว้ในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนแต่มีผลให้มลรัฐและระบบตุลาการจะต้องยึดมั่นและรับรองไว้ซึ่งสิทธิดังกล่าวของบุคคล ในปัจจุบันรัฐชาติต่างๆ ได้รับเอาซึ่งอิทธิพลแห่งสิทธิมนุษยชนผ่านทางข้อตกลง บทบัญญัติ สนธิสัญญาขององค์การระหว่างประเทศที่ประเทศตนได้เข้าร่วมหรือได้ลงนามรับรองไว้ สิทธิในการแสวงหาความสุขจึงถือเป็นหลักการประการหนึ่งที่น่าสนใจศึกษาว่ารัฐต่างๆ ได้ให้ความสนใจในประเด็นนี้อย่างไร สำหรับประเทศไทยในฐานะที่ได้ให้การรับรองหลักประกันสิทธิมนุษยชนขององค์การระหว่างประเทศหลายฉบับ และได้มีการบัญญัติรับรองไว้เป็นกฎหมายภายในผ่านทางบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยหลายฉบับที่ผ่านมารวมถึงฉบับปัจจุบัน จากที่ได้ศึกษาเห็นว่าแม้ประเทศไทยจะไม่ได้มีการบัญญัติรับรองไว้ซึ่งสิทธิในการแสวงหาความสุขโดยตรง เนื่องจากโดยพันธกรณีระหว่างประเทศและโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายภายในของไทยไม่ได้กำหนดเรื่องสิทธิในการแสวงหาความสุขไว้เป็นการเฉพาะ รวมทั้งโดยแนวความคิดในการยกร่างกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของไทยก็ไม่ได้มีแนวความคิดที่จะรับรองสิทธิอันเพิกถอนมิได้เฉกเช่นที่ปรากฏอยู่ในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา แต่เราสามารถเห็นได้ว่ามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่รับรองให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิ เสรีภาพนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้ หากการใช้สิทธินั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ สังคมหรือบุคคลอื่น กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าการใช้สิทธิในการแสวงความสุขด้านต่างๆ ของบุคคลสามารถกระทำได้ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายไทย
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Cumberland, R. (2005). A Treatise of the Laws of Nature. Indianapolis: Liberty Fund.
Freedom Thing. Thomas Jefferson [Online]. Retrieved May 23, 2011, from: http://freedom-thing.blogspot.com/2011/05/thomas-jefferson.html.
3. Kosananund, C. (2016). Human Rights Without Frontiers : Philosophy, Law and Social Reality. (3rd ed). Bangkok: NitiTham. (in Thai)
4. Locke, J. (1693). Essay Concerning Human Understanding. Retrieved April 14, 2012, from: https://en.wikisource.org/wiki/An_Essay_Concerning_Human_Understanding/Book_II/Chapter_II
Sureeya, N. (2016). Human Rights : Conception and Protection. Bangkok: Winyuchon. (in Thai)
5. William, W., John C., John M., John B., & John R. (1759). The Religion of Nature Delineated. London: Printed for J. Beecroft, J. Rivington, J. Ward, R. Baldwin, W. Johnston, S. Crowder, P. Davey and B. Law, and G. Keith, 1759.