สถานีรถไฟกันตัง : การถูกทำให้กลายเป็นสินค้าภายใต้บริบทการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกลายเป็นสินค้าของสถานีรถไฟกันตังในกระแส การท่องเที่ยว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูล เป็นจำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ตีความ สร้างข้อสรุป และนำาเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สถานีรถไฟกันตัง มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทไปจากเดิมโดยถูกทำให้กลายเป็นสินค้า เนื่องมาจากการให้คุณค่า และความหมายของสถานีรถไฟกันตังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากสถานีรถไฟที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ติดต่อเดินทาง เป็นจุดรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ดำารงชีพด้วยการค้าขาย แต่เมื่อกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในลักษณะของการโหยหาอดีตเข้ามามีบทบาทในแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทางภาครัฐจึงได้เข้ามาปรับปรุงพื้นที่ย่านสถานีรถไฟกันตังให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานีรถไฟกันตังได้ถูกประกอบสร้างจากองค์ประกอบต่างๆ ทำให้กลายเป็นสินค้าสู ่กระแสการท่องเที่ยว สถานีรถไฟกันตังจึงถูกให้คุณค่าในฐานะ 1 ใน 20 โบราณสถานของแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดตรัง และเป็นแลนมาร์คของอำเภอกันตังที่นักท่องเที่ยวควรเข้ามาชื่นชม สัมผัสถึงบรรยากาศแห่งอดีตกาลที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่คู่ชาวบ้านกันตังมาอย่างช้านาน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ชูเกียรติ นพเกตุ. (2542). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. เชียงราย : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
3.ปฏิญญา ลิ้มโอฬารสุขสกุล. (2554). มวยไทย : กระบวนการกลายเป็นสินค้าในกระแสความทันสมัย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, คณะศิลปศาสตร์,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
4.พงศ์สุภาพ เพ็ชรสิทธิ์ สุนทรี สังข์อยุทธ์ และอัมพร ภวชโลทร. (2551). กันตังหน้าต่างอันดามัน.ตรัง : เอสพริ้นท์.
5.พิทักษ์ น้อยวังคลัง. (2546). กระบวนการทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าการท่องเที่ยวในภาคอีสาน.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาไทศึกษา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
6.สารกันตัง. (2552, กันยายน). หนังสือพิมพ์เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์, 1(1), 1-12. ตรัง :เทศบาลเมืองกันตัง.