การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการ จังหวัดราชบุรีสู่ความเข้มแข็งและยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อหารูปแบบในการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนฯจังหวัดราชบุรีให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืนโดยการพัฒนาความเข้มแข็งของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่จัดตั้งแล้ว และส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ใหม่ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่จนเกิดกองทุนสวัสดิการที่ต่อเนื่องยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็งต่อไปสู่จังหวัดสวัสดิการต้นแบบในอนาคต ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกองทุนฯ จำนวน 80 กองทุน กลุ่มตัวอย่าง เป็นสมาชิกของกองทุนฯ เลือกแบบสมัครใจโดยเก็บจากผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 300 คน การวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสัมพันธ์ (Pearson-correlation) ส่วนเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า การบริหารจัดการกองทุนให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ประกอบด้วย การบริหารจัดการให้กองทุนพึ่งตนเองได้อยู่ในระดับดี (x = 4.15, S.D.= 0.72) การบริหารจัดการให้กองทุนความยั่งยืนอยู่ในระดับดี (x = 3.84, S.D.= 0.59) การพัฒนาและปรับปรุง การจัดการกองทุนอยู่ในระดับดี (x = 4.33, S.D.= 0.71) การส่งเสริมการบริหารจัดการกองทุน อยู่ในระดับดี (x = 4.34, S.D.= 0.67) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อความยั ่งยืนเกิดจากการดำ าเนินงานการพึ่งตนเองโดยการบูรณาการกองทุนต่างๆ เข้าด้วยกัน จัดแบบครบวงจร การนำความรู้มาใช้การสร้างรายได้มีเงินออม การบริหารภายใต้กรรมการที่มีความรับผิดชอบมีสมาชิกมากกว่า 1,000 คน มีรายรับมากกว่ารายจ่าย การดำ เนินการอย่างต่อเนื่อง โดยนโยบายชัดเจนสอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจ กรรมการมีความรับผิดชอบดำเนินงานเป็นระบบ/ ขั้นตอนชัดเจน และมีการประเมินผลการดำเนินงาน ความยั่งยืนโดยการจัดการความรู้ ส่งต่อความรู้ เป็นศูนย์การเรียนรู ้มีจิตอาสาและมีการสืบทอดตำแหน่ง การพัฒนาฯ โดยการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาลทุกคนมีส่วนร่วมมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอก การส่งเสริมโดยสร้างความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ความเข้าใจ ศรัทธา ความเชื่อมั่น เครือข่ายความร่วมมือ การประชาสัมพันธ์ การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง ตามรูปแบบการจัดการความรู ้สามารถพึ่งตนเองมีความต่อเนื่องพัฒนาปรับปรุงงานและส่งเสริมภูมิปัญญาชาวบ้าน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนอำเภอกรณีอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัด กระทรวงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
3.จิริกา นุตาลัย. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์.โครงการพัฒนาระบบและกระบวนการจัดทำแผนจังหวัดบนพื้นฐานยุทธศาสตร์ข้อมูลและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ :สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
4.บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ และพัชรินทร์ วิหคหาญ. (2553). การประเมินผลการดำเนินงานโครงการกองทุนสวัสดิการชุมชน จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
5.Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.Educational and Psychological Measurement. Journal of Community Health
Nursing, 30, 607-610.