รูปแบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย เฉพาะทาง และเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง 13 แห่ง จำานวน 377 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified random sampling จากประชากรที่เป็นผู้บริหาร และบุคลากรทั่วไปจำนวน 20,025 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติวัดระดับความกลมกลืนของแบบจำลองกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้วิจัยได้ ใช้หลักการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โครงสร้างเชิงเส้นโดยอาศัยการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อรูปแบบการบริหาร มหาวิทยาลัยเฉพาะทางคือ1) ด้านผู้นำองค์กร 2) ด้านการพัฒนาหลักสูตร 3) ด้านการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร 5) ด้านการสร้างเครือข่าย 6) ด้านงบประมาณ 7) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง 8) ด้านการประกันคุณภาพโดยทั้ง 8 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสม (Cumulative) ของการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเฉพาะทางได้ ร้อยละ 64.413 ส่วนรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับดี องค์ประกอบด้านผู้นำ องค์กรมีความสัมพันธ์ทางตรงต่อการพัฒนาหลักสูตร การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาบุคลากร การสร้างเครือข่าย งบประมาณ การประกันคุณภาพ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง และมีความสัมพันธ์ทางอ้อมต่อการมีส่วนร่วมของผู ้มีส่วนได้ส่วนเสีย การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการประกันคุณภาพ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2550). การพัฒนากระบวนการการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับคณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สาขาหลักสูตรและการสอน.
3.ณัฐรัฐ ธนธิติกร. (2548). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาโดยใช้แนวคิด Balance Score Card (BSC). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
4.ทัตธนนันท์ คงขาว. (2553). การประเมินผลลัพธ์ระบบประกันคุณภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี, 3, 57.
5.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545 - 2559) ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
6.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554). (2542).(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2552, จาก : http://www.nesdb.go.th.
7.พิกุล ภูมิโคกรักษ์. (2550). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏภายใต้พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาการบริหารการศึกษา.
8.พัชรินทร์ วิหคหาญ และบำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (2551). ประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี โดยใช้ Balance Score Card. ราชบุรี : วิทยาลัยพยาบาล.
9.พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา. (2553). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงการอาชีวศึกษาในประเทศไทย. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 22, 47.
10.สิปปนท์ เกตุทัต. (2540). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : บมจ. ธนาคารกสิกรไทย.
11.สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอีก 10 ปีข้างหน้า. สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 7, 1-3.
12.สุนทรีย์ คำเพ็ง. (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
13.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
14.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2546). รายงานการวิจัยรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
15.Band, R. R. (2005). Service learning in a community College. California: Pepperdine University.
16.Buntat, Y. (2002). IntegrasiKemahiran Employability dalam Program Pendidikan Vokasional PertaniandanIndustri di Malaysia. Johor Bahru: Universiti Teknologi Malaysia.
17.Campbell (1977). Introduction To Education Admiristration Massachusetts. Boston: Allynand Bacon.
18.Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Testing. San Francisco: Harper & Row.
19.Dillich, S. (2000). Corporate Universities. Computing Canada, 26(16), 25.
20.Hammer, M. & Stanton, S. (1995). The Reengneering Revolution. London: Harper Collins.
21.Katz, R. & Diana, O. (2005). Renewing Administration: Preparing Colleges and Universities for the 21st Century, Boston, MA: Anker Publishing.
22.Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608.
23.Saylor, J. G., Alexander, W. M. & Lewis, A. J. (1981). Curriculum Planing for Better Teaching and learning. New York: Holt Rinehart and Winston.
24.Sergiovanni, T. J. (1980). Educational Governance and Administration. Englewood Cliffs. N.J.: Prentice-Hall.
25.Stefano, M. D. (2003). School Effectiveness: The Role of the Principal in a Leading Public Secondary School in Santa Province, Argentina. Retrieved Janaury 6, 2010,
from: http://www.proquest.umi.com/pqdweb.
26.Unesco. (2009). Education for Sustainable Development. Retrieved November 21, 2013, from: http://www.unesco.org/education/justpublished_desd2009.pdf.