ความเข้าใจในการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในท้องถิ่น กรณีศึกษา : ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือน ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

เวคิน วุฒิวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้าใจ ในการนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในชุมชน ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเทคโนโลยี ด้านจิตใจ และเพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้าใจในการนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในชุมชน จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ภาวะหนี้สิน จำนวนการถือครองที่ดิน และจำานวนครั้งที่เข้ารับการอบรมเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของหัวหน้าครัวเรือน ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยใช้วิธีการการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างมีสัดส่วน คิดเป็นร้อยละ 34 ของ ครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านจากประชากรครัวเรือน 789 ครัวเรือน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวนครัวเรือนในตำบลทรายขาวโดยวิธีการของ Taro Yamane แยกจำนวนครัวเรือนออกเป็น 6 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านลำหยัง จำนวน 48 ครัวเรือน หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ จำนวน 41 ครัวเรือน หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก จำานวน 53 ครัวเรือน หมู่ที่ 4 บ้านควนลังงา จำานวน 44 ครัวเรือน หมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก จำนวน 37 ครัวเรือน และหมู่ที่ 6 บ้านลำ าอาน จำานวน 42 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 265 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจในการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในท้องถิ่น ในภาพรวมมีความเข้าใจระดับปานกลาง (X= 3.43) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการพึ่งตนเองด้านจิตใจ มีผลความเข้าใจอยู่ ในระดับมาก (X= 3.69) รองลงมาอยู่ ในระดับปานกลาง คือการพึ่งตนเองด้านสังคม (X= 3.49) การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ (X= 3.35) การพึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ (X= 3.31) และการพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี (X= 3.16) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมการพัฒนาชุมชน. (2544). กลยุทธ์การบริหารกองทุนหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
2.กรมการพัฒนาชุมชน. (2554). แบบสอบถามข้อมูล จปฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาชุมชน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
3.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2555). แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย.
4.ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานบริหารและพัฒนาองความรู้ (องค์กรมหาชน).
5.ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). สถานการณ์หนี้ครัวเรือนและมาตรการของไทยในปัจจุบัน.(ออนไลน์). ค้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558 จาก : https://www.bot.or.th/Thai/
FinancialInstitutions/Highlights/ASEAN Community/Bankers Talk/Vol3Issue1.pdf.
6.บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น
7.ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8.วิรไท สันติประภพ. (20 สิงหาคม 2554). วางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนตลาดหุ้น.ประชาชาติธุรกิจ, 36, หน้า 14.
9.เดชา กลิ่นจันทร์. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้กับระดับการนำไปปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, บัณฑิตวิทยาลัย.
10.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11.สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ.ม.ป.ป : ม.ป.ท (เอกสารอัดสำ�เนา).
12.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
13.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
14.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
15.Scheffé, H. (1999). The Analysis of Variance. New York: Wiley.