ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการคิดนอกกรอบของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Main Article Content

รุ้งลาวัณย์ จันทรัตนา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยในองค์ประกอบด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน และด้านสถานศึกษาที ่มีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการคิดนอกกรอบของนักศึกษา และเพื่อ ศึกษาปัจจัยเหล่านั้นว่ามีอิทธิพลต่อคุณลักษณะการคิดนอกกรอบของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ ได้แก่ นักศึกษาปีการศึกษา 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จำานวน 619 คน เครื่องมือที่ใช้ คือสอบถามมีทั้งหมด 5 ตอน ตอนที่ 1 เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา ตอนที่ 2-5 สอบถาม เกี่ยวกับ 3 องค์ประกอบได้แก่ ด้านผู้เรียน สภาพแวดล้อมทางบ้านของนักศึกษา ด้านสถานศึกษา และคุณลักษณะการคิดนอกกรอบ ตามลำดับ โดยทำการหาคุณภาพของเครื่องมือ คือความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างซึ่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และหาค่าความเชื่อมั่นรายด้านโดยใช้สูตร สัมประสิทธิ ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั ่นในด้านผู ้เรียน ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน ด้านสถานศึกษา และคุณลักษณะการคิดนอกกรอบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 0.97 0.96 และ 0.92 ตามลำาดับ มีผลสรุปมีดังนี้คือ ผลการค้นหาปัจจัยมีทั้งหมด 8 ปัจจัย ใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียน นิสัยรักการอ่าน การมีวินัยในตนเอง การอบรม เลี้ยงดูและความสัมพันธ์ที่ดี ด้านการส่งเสริมด้านการเรียนของครอบครัว ด้านความสามารถ และความสัมพันธ์ที่ดีของอาจารย์ และด้านการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดนอกกรอบ พบว่า มี 7 ปัจจัยที ่มีอิทธิพลต่อการคิดนอกกรอบ ได้แก่ ความสามารถและความสัมพันธ์ที่ดีของอาจารย์ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ นิสัยรักการอ่าน เจตคติต่อการเรียน การมีวินัยในตนเอง การอบรมเลี้ยงดูและ ความสัมพันธ์ที่ดี และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.
2.เขียน วันทนียตระกูล. (2553). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2556. จาก : http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/Intrinsic_Kh. asp
3.ดำริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 8(1),27 – 31.
4.ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5.นวลอนงค์ บุญจรูญศิลป์. (2556). พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของวัยรุ่นไทย และการพัฒนาโปรแกรมการป้องกัน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2556.จาก : http://www.tnrr.in.th/2557/?page=result_search&record_id=310125.
6.บังอร เกิดดำ. (2549). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับคุณลักษณะรักการใฝ่รู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยทักษิณ. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา.
7.สมิต สัชฌุกร. (2556). ความคิดนอกกรอบ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2556. จาก : http://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/36/ContentFile541.Pdf.
8.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). รายงานการศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่าย.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
9.สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). จิตพิสัยมิติสำคัญของการพัฒนาคน.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
10.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11(พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
11.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เส้นทางสู่ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ
4 สิงหาคม 2556. จาก : http://www.myfirstbrain.com/teacher_view.aspx?ID=88767
12.ศิรินยา จีระเจริญพงศ์. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการคิดเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา.
13.Celuch, K., Black, G. & Warthan, B. (2009). Student Self-Identity as a Critical Thinker:The Influence of Attitudes, Attitude Strength, and Normative Beliefs. Journal of
Marketing Education, 31(1), 31-39. Retrieved January 5, 2015, from: http://0-eric.ed.gov.opac.msmc.edu/?q=source%3A%22Journal+of+Marketing+Education
%22&ff1=autCeluch%2C+Kevin&ff2=autWarthan%2C+Bradley
14.De Bono, E. (1990). Lateral Thinking: Creativity Step by Step. New York: Harper & Row Puplished. Retrieved January 5, 2015, from: http://www.amazon.com/Edward-
De-Bono/e/B000AQ3GY6
15.Henderson, H. M. & Hurley, D. (2013). Enhancing Critical Thinking Skills among Authoritarian Students. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 25 (2), 248-261. Retrieved January 7, 2015, from: http://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1016518.pdf
16.Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 608
17.Loudon, D. & Della, B. A. (1993). Consumer Behavior: Concepts and Applications.New York: McGraw-Hill International, Inc. Retrieved January 6, 2015, from:
http://www.abebooks.com/book-search/author/loudon-david-l-dellabitta-albert-j/
18.McClelland, D. C. (1961). The achieving society. New York: The Free Press. Retrieved January 9, 2015, from: http://en.wikipedia.org/wiki/Need_for_achievement
19.Miele, D. B. & Wigfield, A. (2014). Quantitative and Qualitative Relations between Motivation and Critical-Analytic Thinking. Educational Psychology. Review, 26 (4),
519-541. Retrieved January 7, 2015, from: http://umaryland.pure.elsevier.com/en/publications/quantitative-and-qualitative-relations-between-motivationand-
criticalanalytic-thinking(d5774038-ea0f-44d8-a829-9e107edc17e5).html
20.Niu, L., Behar-Horenstein, L. S. and Garvan, C. W. (2013). “Do Instructional Interventions Influence College Students' Critical Thinking Skills. Educational Research
Review, 9, 114-128. Retrieved January 8, 2015, from: http://eric.ed.gov/?id=EJ999447
21.Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row Publications.
22.Waks, S. (1997). Lateral Thinking and Technology Education. Journal of Science Education and Technology, 6(4), 245-55. Retrieved January 7, 2015, from:
http://link.springer.com/article/10.1023%2FA%3A1022534310151#page-1.