การใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย

Main Article Content

ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย และนำเสนอสภาพปัญหาการใช้และการดำเนินงานการจัดการความรู้ พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะที่เหมาะสมกับการดำเนินการจัดการความรู้ ทำการวิจัยใน 3 ประเด็นเนื้อหา คือ องค์ประกอบการจัดการความรู้ ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และด้านการเรียนรู้ 2) ขั้นตอนการจัดการความรู้ ได้แก่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำความรู้ไปใช้ และการติดตามและประเมินผล และด้านสภาพการใช้ระบบการจัดการความรู้ และ 3) สภาพปัญหาการใช้ระบบการจัดการความรู้และปัญหาการดำเนินงาน ระบบการจัดการความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู อาจารย์อัตราจ้างผู้เชี่ยวชาญกีฬาชำนาญการ และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 106 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโทสถานภาพการดำรงตำแหน่งในปัจจุบันเป็นข้าราชการครู ความรับผิดชอบด้านการจัดการความรู้เป็นกรรมการการจัดการความรู้ และมีประสบการณ์ในการทำงานสูงกว่า 16 ปี และผลการวิจัย การใช้ระบบการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการ พบว่า องค์ประกอบการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านองค์กร รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้ ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยี ส่วนขั้นตอนการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการกำหนดความรู้ รองลงมา คือ ด้านการติดตามและประเมินผล ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการนำความรู้ไปใช้ และด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
2.ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา.ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
3.พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้สาหรับหน่วยงานภาครัฐ.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์,ภาควิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา.
4.วสันต์ ลาจันทึก. (2548). การจัดการความรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. ปริญญาการศึกษาอิสระมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
5.วาริน แซ่ตัน. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี :สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
6.พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546).สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ราชกิจจานุเบกษา 9 ตุลาคม 2546
7.สำนักงานรองอธิการบดี. (2557). กองบริหารงานบุคคล. สุโขทัย : สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตสุโขทัย.
8.สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ : สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
9.Best, J. W. (1977). Research in Education. (3 rd ed). New Jersey: Prentice hall Inc.
10.Marquardt, M. J. (2002). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.
11.Miller, V. (1965). Administration of American School. New York: Mc Millan Publishing.