ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในอาหารไก่ไข่ต่อความเข้มสีไข่แดง

Main Article Content

ฮานีย๊ะ กะโด
ศิริลักษณ์ วงส์พิเชษฐ
วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์

บทคัดย่อ

การทดลองนำสารสีจากเมล็ดคำแสดมาใช้เป็นส่วนผสมในอาหารไก่ไข่ เพื่อศึกษาคุณภาพไข่ได้ใช้ไก่ไข่พันธุ์อีซ่าบราวน์ อายุ 30 สัปดาห์ จำนวน 125 ตัว แบ่งออกโดยสุ่มเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมี 5 ซํ้าๆ ละ 5 ตัว ได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของผลเมล็ดคำแสดระดับ 0, 1, 2 และ 3% และอีกกลุ่มได้รับอาหารกลุ่มควบคุม (0% ผงเมล็ดคำแสด) เสริมด้วยสารสีสังเคราะห์ Canthacol ระดับ 0.06% ทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ ด้วยแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomize Design; CRD) ผลปรากฏว่า การเสริมสารสีจากเมล็ดคำแสดทุกระดับ (1-3% ในอาหาร) และการเสริมสารสีสังเคราะห์ ให้ความเข้มสีไข่แดงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05; 10.80-12.88 vs. 9.81 แต้มคะแนน) โดยการเสริมเมล็ดคำแสดที่ระดับ 1% และสารสีสังเคราะห์ มีความเข้มสีไข่แดงมากที่สุด (แต้มคะแนน 12.88 และ 12.50 ตามลำดับ) ซึ่งแตกต่างการกลุ่มที่ใช้เมล็ดคำแสดที่ระดับ 2 และ 3% อย่างมีนัยสำคัญด้วย ค่าความตึงข้นไข่ขาว (Haugh unit) มคี า่ ลดลง เมอื่ ใชส้ ารสสี งั เคราะหแ์ ละใชเ้ มลด็ คำแสดระดบั 2 และ 3% ในขณะที่การใช้เมล็ดคำแสดระดับ 1% มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (91.42 vs. 89.06 ตามลำดับ, P<.05) ส่วนผลคุณภาพไข่ด้าน ดัชนีไข่แดง ดัชนีไข่ขาว และความหนาเปลือกไข่ ทุกกลุ่มให้ผลไม่แตกต่างกัน (P>.05) การใช้ผงเมล็ดคำแสดในอาหารไก่ไข่ระดับ 1% จึงเป็นระดับที่เหมาะสม โดยไม่มีผลเสียต่อคุณภาพไข่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.จุฬาทิพย์ ปิ่นเงิน. (2555). คุณภาพและสีไข่แดงของไข่ไก่ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลสุวรรณภูมิ, สาขาวิชาสัตวศาสตร์.
2.คำพอง อยู่ศรี. (2551). การย้อมไหมที่เคลือบไคโตซานด้วยสีจากเมล็ดคำแสด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, สาขาวิทยาศาสตร์การศึกษา.
3.วิศิษย์ เกตุปัญญาพงศ์, อุบล ตันสม, อับดุลรอฮิม เปาะอีแต และฮานีย๊ะ ปอเย๊าะ. (2554).ผลของสารสีจากเมล็ดคำแสดในระดับที่ต่างกันต่อคุณภาพสีไข่แดงของนกกระทาญี่ปุ่น.
วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 6(1), 17-24.
4.ศศิธร นาคทอง. (2549). สีกับคุณภาพเนื้อ. Food Focus Thailand, 1(6), 21-23.
5.สฤษฏ์ ประเศรษฐสุต และสุวิทย์ ธีรพันธุวัฒน์. (2547). ผลของสารสีในพริก ใบกระถินและข้าวโพดที่มีต่อสีไข่แดง. สัมมนาวิชาการเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2547
สาขาสัตวศาสตร์/สัตวบาล “ปศุสัตว์ไทย อาหารมาตรฐานโลก”, 27-28 มกราคม 2547.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6.สุภาพร อิสริโยดม, ประทีป ราชแพทยาคม, ครวญ บัวคีรี และวิไล สันติโสภาศรี. (2538).การเสริมสารสีจากธรรมชาติบางชนิดในอาหารไก่ไข่. การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 33 สาขาสัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์,30 มกราคม-1 กุมภาพันธ์ 2538. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
7.สุวิทย์ ธีรพันธุวัฒน์, ศศิพันธ์ วงศ์สุทธาวาส, ชัยรัฐ รัฐการวิวัฒน์, นวภาคย์ ตันติปัญจพร และนริศรา สวยรูป. (2547). ผลของระดับพริก ใบกระถิน และใบกระถินร่วมกับพริกใน
อาหารต่อสมรรถภาพการผลิต และสีไข่แดง. สัมมนาวิชาการเกษตรแห่งชาติประจำปี 2547 สาขาสัตวศาสตร์/สัตวบาล “ปศุสัตว์ไทย อาหารมาตรฐานโลก”,27-28 มกราคม 2547 ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
8.อัจฉรา นิยมเดชา และมงคล คงเสน. (2556). เมทาบอลิซึมและคุณประโยชน์ของแคโรทีนอยด์ในการเพิ่มความเข้มสีไข่แดง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. ฉบับพิเศษประจำปี 2556, 112-121.
9.Belyavin, C. G. and Marangos A. G. (1987). Natural Products for Egg Yolk Pigmentation. In: Recent Advances in Animal Nutrition, Haresign, W. and Cole D. J. A. (Eds.). London: Butterworths.
10.Garcia, E. A., Molino, A. B., Goncalves, H. C., Junquelra, O. M., Pelicia, K., Osera, R. H. and Duarte, K. F. (2010). Ground annatto seeds (Bixa orellana L.) in sorghum-based commercial layer diets and their effects performance,egg quality and yolk pigmentation. Brazillan Journal of Poultry Science, 12(4),259-264.
11.Ofuosu, I. W., Appiah-Nkansah, E., Owusu, L., Apea-Bah, F. B. and Ellis, W. O. (2010). Formulation of annatto feed concentrate for layers and the evaluation of egg
yolk color preference of consumers. Journal of Food Biochemistry, 34(1), 66-78.
12.Zhang, Y. and Zhong, Q. (2013). Encapsulation of bixin in sodium caseinate to deliver the colorant in transparent dispersions. Food Hydrocolloids, 33(1), 1-9.