การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

Main Article Content

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช
ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์
วุฒิชัย เนียมเทศ
ณัฐวิทย์ พจนตันติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และเสนอแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข โดยการถอดบทเรียนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศจำนวน 3 แห่ง ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์เอกสารและจัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำเข้าที่สำคัญและกระบวนการที่มีคุณภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีความเป็นเลิศ ได้แก่ นโยบายภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา แผนงานประกันคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ บุคลากร งบประมาณ วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการทำงานที่มีคุณภาพ การเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม มีแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามวิสัยทัศน์ ด้วย 1) แผนกลยุทธ์ชี้นำ มุ่งเน้นการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ 2) ด้านการผลิตบัณฑิตวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ บริหารทรัพยากรบุคคล พัฒนาระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 3) ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาทำแผนพัฒนานักศึกษา เน้นทักษะการเรียนรู้ การใช้ชีวิต การเรียนรู้วิชาชีพ คุณลักษณะวิชาชีพ และสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณสมบัติพร้อม 4) ด้านการวิจัย ได้กำหนดนโยบาย แผนงาน และคณะกรรมการในการดำเนินงานวิจัย มีระบบการบริหารงานวิจัยโดยใช้ระบบสารสนเทศพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย 5) ด้านการบริหารและการจัดการสถาบัน มุ่งเน้นการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และเน้นผลลัพธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมคุณภาพขององค์กร 6) มีแผนและระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการตัดสินใจที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน 7) มีฐานข้อมูลที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา 8) วิทยาลัยดำเนินการตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารองค์กร โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA มีการพัฒนาระบบเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กิตติยา สีอ่อน. (2547). โมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสำหรับกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
คณะครุศาสตร์, สาขาวิทยาการวิจัยการศึกษา.
2.ชัยวัฒน์ ประสงค์สร้าง. (2553). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาอุดมศึกษา.
3.จิรนันท์ อารรี อบ. (2549). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตขุ องประสิทธิผลในการดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์,สาขาวิชาวิจัยการศึกษา.
4.ทิศนา แขมมณี. (2557). ปลุกโลกการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย,6-8 พฤษภาคม 2557. โรงแรมปรินส์พาเลส. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด.
5.ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. 6-8 พฤษภาคม 2557.โรงแรมปรินส์พาเลส. กรุงเทพฯ : บริษัทมาตาจำกัด.
6.ปองสิน วิเศษศิริ. (2550). การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสถานศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ.วารสารการศึกษาไทย, 4(30), 56-63.
7.ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2553). การประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์,21(1), 5-18.
8.มยุรี แพร่หลาย. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
9.ยุวลักษณ์ เส้งหวาน. (2554). การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาอุดมศึกษา.
10.ลิลลี่ ศิริพร และเบญจวรรณ ทิมสุวรรณ. (2555). การอภิมานการประเมินผลคุณภาพการศึกษาภายในของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก.วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 5(3), 64-67.
11.สถาบันพระบรมราชนก. (2555). คู่มือการประกันคุณภาพภายในวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง พฤษภาคม 2555. มปท.
12.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษาฉบับปีการศึกษา 2557. มปท.
13.สุจิตรา ประยูรพิทักษ์. (2551). แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งในระบบการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยพายัพ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
14.สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส, ทวนทวง เชาวกีรติพงศ์ และเรขา อรัญวงศ์. (2556).การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง.วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 67-79.
15.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนท์. (2540). การพัฒนาดัชนีสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 5(3), 9-107.
16.Cheng, Y. C. (1996). School Effectiveness and School- Based Management:A Mechanic for Development. London: Falmer Press.
17.Drucker, P. F. (1998). The Coming of New Organization. Harvard Business Review on Knowledge Management. Boston: Harvard Business School Publishing Corporation.
18.Higgins, J. M. and Vincze, J. W. (1993). Strategic Management. (5thed). Florida: the Dryden Press.
19.Moorhead, G. and Griffin, R. W. (1998). Organization Behavior: Managing People and Organization. (5thed). Boston: Houghton Miffin.
20.Wiig, K. M. (2005). Knowledge Management Has Manat Facets. Cambridge: MIT Press.