ความสัมพันธ์ระหว่างระดับปัจจัยความสำเร็จ กับระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาล ไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : เทศบาลนครหาดใหญ่

Main Article Content

ดาวริกา อักษรถึง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัจจัยความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่ ระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่ และความสัมพันธ์ระหว่างระดับปัจจัยความสำเร็จกับระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่ รวบรวมข้อมูลจากบุคลากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน 140 คน สุ่มโดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากตัวแบบและแนวความคิดของวรเดช จันทรศร ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่อยู่ในระดับมากในภาพรวม ( =3.67, S.D.=0.84) และรายด้าน คือ ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านผู้บริหารและบุคลากรผู้ปฏิบัติ ปัจจัยด้านการกำหนดภารกิจและการมอบหมายงาน ปัจจัยด้านการจัดหาส่งเสริม ควบคุม ประเมินผล และการให้คุณให้โทษ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและกลุ่มเป้าหมายอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ย 3.84 3.79 3.73 3.64 และ 3.64 ตามลำดับส่วนในด้านสมรรถนะและลักษณะองค์การอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.37 ระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนครอยู่ในระดับมาก ในภาพรวม ( =3.56, S.D.=0.91) และรายด้าน คือ หลักนิติธรรมหลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ย 3.81 3.76 3.60 3.54 และ 3.54 ตามลำดับ ส่วนหลักคุณธรรมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 3.15 และระดับปัจจัยความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติของเทศบาลนครหาดใหญ่ทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.จิรวัฒน์ อัครบวร และรัตนศักดิ์ เจริญทรัพย์. (2552). แผนที่ยุทธศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
2.สุรสิทธิ์ วชิรขจร. (2549). นโยบายสาธารณะเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท ธเนศวร (1999)พริ้นติ้ง จำกัด
3.สุรศักดิ์ ชะยารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในเขตภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ, สาขาวิชาวิทยาการจัดการ.
4.สิริกาญจน์ เอี่ยมอาจหาญ. (2554). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : วิเคราะห์กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีปทุม, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
5.เสกสรรค์ นิสัยกล้า. (2550). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สาขารัฐประศาสนศาสตร์.
6.อิทธิชัย สีดำ. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ : ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขารัฐประศาสนศาสตร์.