การเปรียบเทียบทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และไอซีที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับความคาดหวังในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ณัฐกานต์ ภาคพรต
ณมน จีรังสุวรรณ

บทคัดย่อ

การรับรู้สภาพปัจจุบันเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาและออกแบบการเรียนรู้ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรู้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และไอซีที อันเป็นทักษะที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่น การประเมินตามสภาพจริงจะทำให้รู้ถึงปัญหาแล้วนำไปสู่การเรียนการสอนที่คาดหวังให้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านสารสนเทศฯ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับทักษะด้านสารสนเทศฯ แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับประเมินตามสภาพจริงเป็นนักเรียนจำนวน 30 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับความคาดหวังในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงการศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์กรอบแนวคิดระยะที่ 2 ออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดทักษะด้านสารสนเทศฯ ซึ่งได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะด้านสารสนเทศนักเรียนตามสภาพจริง แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมทักษะด้านสารสนเทศฯตามสภาพจริง และตามความคาดหวังในศตวรรษที่ 21ระยะที่ 3 เก็บข้อมูลกับนักเรียนและผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 4 เปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาความแตกต่างของทักษะด้านสารสนเทศฯ ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับทักษะด้านสารสนเทศฯ แห่งศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า ทักษะด้านสารสนเทศฯ ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับความคาดหวังในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างกัน (t-test =30.298, Sig. 0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยภาพรวมการประเมินเปรียบเทียบทักษะทักษะด้านสารสนเทศฯ สำหรับนักเรียนอยู่ในระดับน้อย ( =1.56, S.D.=0.76) และความคาดหวังในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=0.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
2.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระยะ พ.ศ.2554-2563 ของประเทศไทย.กรุงเทพฯ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.
3.ดนุวศิน เจริญ. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). Digital Divide ความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล. [ออนไลน์].ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2556, จาก : http://mba.nida.ac.th/cec/images/stories/cecpic/
magazine/02/13_digital_03%20case5.pdf
4.ประคอง กรรรณสูต. (2528). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข).กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า จำกัด.
5.สาธิต วงศ์อนันต์นนท์. (2555). นโยบายแจกเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต (tablet) แก่นักเรียนของประเทศไทย (Thailand’s One Tablet PC Per Child Policy).สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2, 1-17.
6.สุรศักดิ์ ปาเฮ. (ไม่ปรากฏปีพิมพ์). ภาพอนาคตการศกึ ษาไทย : วิเคราะห์บนฐานการวิจัย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2555, จาก : http://www.addkutec3.com/wpcontent/uploads/
2011/11/ed_futher.pdf
7.Partnership for 21st Century Skills. (2000). Framework for 21st Century Learning. Retrieved August 31, 2012, from: http://www.p21.org
8.Strauss, V. (2010). Is technology sappig children’s creativity?. Retrieved November 10, 2013, from: http://www.washingtonpost.com/blogs/answer-sheet/post/is-technology-sapping-childrens-creativity/2012/09/12/10c63c7e-fced-11e1-a31e-804fccb658f9_blog.html