รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบองค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทราบผลการยืนยันองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อทราบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 44 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยันผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (arithmetic mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis, EFA)การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis, CFA) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) และยืนยันรูปแบบโดยวิธีการชาติพันธ์วรรณา (Ethnographic Futures Research: EFR)ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 4 องค์ประกอบ คือ คุณลักษณะ การสร้างแรงบันดาลใจ ภาวะผู้นำ และวิสัยทัศน์ ผลการยืนยันองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ารูปแบบการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์พบว่า องค์ประกอบด้านคุณลักษณะมีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์และด้านภาวะผู้นำ และองค์ประกอบด้านคุณลักษณะมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์โดยผ่านองค์ประกอบด้านการสร้างแรงบันดาลใจ องค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงทุกองค์ประกอบไม่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ และการยืนยันรูปแบบพบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ความถูกต้องและใช้ประโยชน์ได้จริง
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2.คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
3.ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545).กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. กรุงเทพมหานคร : เอ็กเปอร์เน็ท. บัญชร จันทร์ดา. (2553) “ปฏิรูปการศึกษารอบสองศึกษาสงเคราะห์จะไปทางใด?,” เดลินิวส์. วันที่ 24 กันยายน 2553. หน้า 5.
4.วันชัย พิมพา. (2547). ปัญหาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา ในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏ รำไพพรรณี.
5.วันชัย มีชาติ และพฤติวิโรจน์ สารรัตนะ. (2548). การบริหารสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ทิพย์วิสุทธิ์.
6.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). เอกสารแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา: ประสบการณ์จากนานาชาติ หน้า 1-2.
7.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2553).เอกสารสรุปเป้าหมาย/กรอบแนวคิดการปฏิรูปการศึกษารอบสองการจัดการศึกษาสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
8.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552).ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ ที่สอง (พ.ศ.2552-2561). กรุงเทพมหานคร : สกศ.
9.Atkinson, Lynn. (2002). Transformation of Self: Portrait of Youth Investigators and Forensic Interviewers Exposed to Repeated Trauma. Illinois: Northern Illinois University.
10.Best, J. W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice- Hall Inc.
11.Fullan, G. M. (2001). The New Meaning of Education of Educational Change. New York: Teachers College Press.
12.Krejecie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Educational and Phychorogical Measurement. Washington, DC.: The Mid Atlantic Equity Center.
13.Kristoff, B. L. (2003). Transformational Leadership, Professional School Culture, and Perceived Effectiveness in Specialized Programs for Students with Disabilities.
Proquest-Dissertation Abstracts, 3, 120.
14.Leimbach, P. (2005). Human Resource Development. California: Berrett - Koehler Publishers.