แรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

Main Article Content

เพ็ญพิศ จีระภา

บทคัดย่อ

การตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก และประหยัดในการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยสตรีทุกคนสามารถตรวจได้ด้วยตนเอง การสร้างแรงจูงใจในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีความสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง จนเกิดเป็นพฤติกรรมการป้องกันโรคที่พึงประสงค์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแรงจูงใจและพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และเพื่อหาอำนาจการทำนายของแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการสอบถามสตรีอายุ 35-60 ปี ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จำนวน 398 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลวิจัยพบว่า แรงจูงใจด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค ด้านการรับรู้ความสามารถแห่งตน และด้านการกำหนดการกระทำด้วยตนเองในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่ในระดับ ปานกลาง (X= 42.17, S.D = 5.48, X = 26.82, S.D = 6.50, X = 30.01, S.D = 5.29 ตามลำดับ) พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง (X= 30.83, S.D = 6.10) การรับรู้ความสามารถแห่งตน และการกำหนดการกระทำด้วยตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r = .599, r = .452) ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคมะเร็งเต้านมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้ความสามารถแห่งตน และการกำหนดการกระทำด้วยตนเอง สามารถทำนายพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 38.70 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อกำหนดแนวทางการป้องกันโรคมะเร็ง เต้านม และกำหนดกลวิธีในการสร้างเสริมให้เกิดแรงจูงในการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ สตรีให้เป็นไปตามที่ต้องการ

Article Details

บท
บทความวิจัย