ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
น้ำหนักแรกเกิดของทารกน่าจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ จึงทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักแรกเกิด ของทารก กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร จำนวน 490 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยกำหนดเวชระเบียนที่มีคุณสมบัติเป็นบันทึกการคลอด แล้วจึงวิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการทดสอบ Chi-Square กำหนดค่าความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มารดามาฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพการฝากครรภ์ ร้อยละ 45.1 มารดามาคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 27.8 มารดามีประวัติการแท้งบุตร ร้อยละ 15.3 มารดามีประวัติการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ร้อยละ 3.9 มารดามีประวัติการคลอดทารกก่อนกำหนด ร้อยละ 2.0 มารดามีโรคประจำตัว ร้อยละ 7.1 มารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.1 และมารดามีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 18.4 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของ ทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่มารดามาฝากครรภ์ไม่ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพการฝากครรภ์ มารดามาคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มารดามีประวัติแท้งบุตร มารดามีประวัติคลอดทารกน้ำหนักน้อย มารดามีประวัติคลอดก่อนกำหนด มารดามีโรคประจำตัว มารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง และมารดามีภาวะโลหิตจาง โดยมีค่า p value เท่ากับ 0.001, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001, 0.001 และ 0.036 ตามลำดับ การวิจัยนี้สรุปได้ว่าปัจจัยทางด้านมารดามีผลต่อน้ำหนักของทารกแรกเกิด ดังนั้นควรทำการศึกษาเกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ และพฤตกิรรมการดูแลตนเองของมารดา ที่คลอดทารกน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น