การเปรียบเทียบภูมิหลังและพฤติกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่มีสถานภาพปกติและรอพินิจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบภูมิหลังและพฤติกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่มีสถานภาพปกติและรอพินิจ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 599 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.518 – 0.972 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นิสิตที่มีสถานภาพรอพินิจมีเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลาที่ใช้ไปกับการทำการบ้าน/ทบทวนบทเรียน คะแนนประเมินด้านพฤติกรรมการเรียน ด้านความเชื่อในศักยภาพของตนเอง ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านพฤติกรรมการสอน ด้านบรรยากาศในห้องเรียน และด้านสถาบันการศึกษาต่ำกว่านิสิตที่มีสถานภาพปกติ แต่มีจำนวนบุคคลในครอบครัวที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า รายได้และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของนิสิตสูงกว่านิสิตที่มีสถานภาพปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Test. Psychometrika, 16(3), 297-334.
3. Deejai, P., Chaisawad, N., Keeariyo, Ch., Suwannarak, J. and Boonna, P. (2011). Factor Affecting Dropping Out of Undergraduates in Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. Research Report. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai)
4. Keerativibool, W. (2015a). Factors Influencing on Learning Achievement of Calculus 1 for Thaksin University’s Students. Parichat Journal, 28(1), 98-117. (in Thai)
5. Keerativibool, W. (2015b). Withdrawal’s Probability Forecasting Model of Calculus 1 Subject for Thaksin University’s Student. RMUTI Journal, 8(2), 79-94. (in Thai)
6. Nanuwong, N. (2008). Factors Affecting Academic Probation of Undergraduate Students of North Bangkok College. [Online]. Retrieved February 13, 2015, from: https://www.northbkk.ac.th/research/?news=research&id=000004. (in Thai)
7. Sangkapan, J., Laehheem, K., Boonprakarn, K. & Wangbenmad, Ch. (2013). Causal Model of Students’ Academic Achievement into Probation Status at Prince of Songkla University, Hat Yai Campus. [Online].Retrieved July 6, 2015, from: https://www.hu.ac.th/conference2013/Proceedings2013
/pdf/Book3/Describe2/341_137-150.pdf. (in Thai)
8. Sanguanrat, S. (2013). A Causal Relationship Model of On-Probation of Undergraduate Students. Phetchabun Rajabhat Journal, 15(2), 151-162. (in Thai)
9. Sheridan, J.C. & Lyndall, G.S. (2001). SPSS Analysis without Anguish. New York: John Wiley and Sons.
10. Srisaad, B. (2000). Research, Assessment and Evaluation. Bangkok: Suveeriyasan. (in Thai)
11. Suwattee, P. (2009). Survey Sample: Sampling and Analysis. Bangkok: Project Development Document National Institute Development Administration. (in Thai)
12. Vanichbuncha, K. (2000). Using SPSS for Windows for Analyze Data. (2nd ed.). Bangkok: C K and S Photo Studo. (in Thai)
13. Vanichbuncha, K. (2002). Principal Statistics. (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing Houses. (in Thai)
14. Wongjean, A. (2014). Causal Factors that Undergraduate Student in Bangkok Probation Conditions. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand Journal, 20(2), 136-147. (in Thai)