การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนท้องถิ่น บริเวณรอยต่อเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนท้องถิ่น บริเวณรอยต่อเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว จังหวัดปัตตานีในอนาคต โดยใช้เทคนิค EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ตัวอย่างในการวิจัย ประกอบ ด้วยผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพและบริบทของชุมชน จำนวน 24 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีการตรวจสอบรูปแบบ รับรองผลการวิจัยและพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปใช้โดยใช้วิธีการสัมมนาแบบอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) โดยผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 9 คน ซึ่งในที่สุดมีฉันทามติเห็นชอบร่วมกันว่าเป็นรูปแบบที่มีหลักเกณฑ์และมีแนวโน้มความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ควรสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรร่วมระหว่างชาวบ้าน หน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนร่วมกันรับผิดชอบในการบริหารจัดการ โดยโครงสร้างหลักของรูปแบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1. ความหลากหลายทางชีวภาพกับการใช้ประโยชน์ประกอบด้วย รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่เป็นไปได้ แนวคิดเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ การลดความสูญเสียจากการใช้ประโยชน์ ความคิดเห็นด้านคุณค่าการใช้ประโยชน์ และการเพิ่มคุณค่าประโยชน์ ส่วนที่ 2. รูปแบบการจัดการ ประกอบ ด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดหลักการเพื่อใช้ประโยชน์ แนวทางและวิธีการ การกำหนดวิสัยทัศน์และวิธีดำเนินการ ส่วนที่ 3. จัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การตรวจสอบปัจจัยที่เป็นอุปสรรค หาแนวทางแก้ไขอุปสรรค การปรับความคิดขัดแย้ง สำรวจความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างยั่งยืน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Chairoungruang, S. (2007). Management of Natural Resources and Environment of Sub-District Administration Organization in Ratchaburi. Ratchaburi: Muban Chombueng Rajabhat University [Online]. Retrieved January 21, 2017, from: https://tdc.walai.net/docview.aspx?tdcid=9684. (in Thai)
3. Google Maps.(2017). sai khao waterfall map [Online]. Retrieved September 21, 2017, from: https://www.google.co.th/maps/@9.8898328,102.0512511,1181902m/data=!3m1!1e3. (in Thai)
4. Kark, S. & Rensburg, B. J. (2006). Ecotone: Marginal or Central Areas of Transition. Israel Journal of ecology and evolution, 52, 29-53.
5. Keeve, P. J. (1988). Model and Model Building Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.
6. Liu, H. & Cui, H. (2009). Patterns of Plant Biodiversity in The Woodland-Steppe Ecotone in Southeastern inner Mongolia. Contemporary problems of ecology, 2(4), 322-329.
7. McArthur, E. D. & Sanderson, S. C. (1999). Ecotones: Introduction, scale and big Sagebrush example. USDA forest service proceeding RMRS-P. 1999; 11: 3-8. [Online]. Retrieved January 20, 2016, from: https://www.fs.fed.us/rm/pubs/rmrs_p011.pdf.
8. Miyakawa, T. (2007). Basics Econometric.(Kongsak Santiprouk, Translator). Bangkok: Roujang publishing. (in Thai).
9. Nanthapanich, H. (2007). alternativebio-resource conservation management and sustainability utilization in Doungkunkum Commuity Forest Tumkae Subdistrict, Trakan phutphon District, Ubon ratchathani Province. Ubon ratchathani: Ubon ratchathani Rajabhat university [Online]. Retrieved January 21, 2017, from: https://www.ubru.ac.th/Research/Hathaichanak_2550/ title.pdf. (in Thai)
10. Office of National Park. (2013). The Sai Khao Waterfall [Online]. Retrieved september 21, 2017, from: https://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9137. (in Thai)
11. Office of Natural Resource and Environmental Policy and Planning. (2007). Strategic Plan for Biodiversity 2011-2020 and the Aichi Targets [Online]. Retrieved January 21, 2017, from: https://chm-thai.onep.go.th/chm/sp 2011-2020. html. (in Thai).
12. Office of The National Economic and Social Development Board. (2017). National Economic and Social Development Plan No. 11, 2012-2016 [Online]. Retrieved January 21, 2017, from: https://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue. (in Thai)
13. Pengpinit, T., Ponvaingpon, P. & Watthong, P. (2016). A Model of The Environmental Management and Development of The Biodiversity of The Local Philosopher Networks in The Northeast. Research and Development Journal Loei Rajabhat University, 11(special), 51-57. (in Thai).
14. Poonpattarachewin,C. (2008). The Future of Action Research: Ethnographic Delphi Future Reseach: (EDFR). Journal of educational administration, 1(2), 19-31. (in Thai).
15. Ratchawet, A. (2015). The Biodiversity Management with A Sufficient Economical Based, Mueang District, Mae Hong Son Province. Journal Of Graduate Research Chiangmai, 6(2), 78-91. (in Thai)