ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปที่ส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

ธัญญาพร ก่องขันธ์
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์กับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรม จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่สอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนวิชาศึกษาทั่วไปแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Cojorn, K. (2011). A Development of the Creative Problem Solving Learning Model on Matter and Properties of Matter for Seventh Grade Students. Dissertation. Doctoral of Education Thesis. Science Education, Srinakharinwirot University. (in Thai)

2. Chouvalittumrung, C. (1995). “Quality Inspection of Instrument: Criteria Reference”, To create Instrument Research. Bangkok: Education Program in Measurement and Evaluation Srinakharinwirot University. (in Thai)

3. Kongkhan, T. (2015). Research report: study the conditions problems and needs of teaching and learning on general education. Phitsanulok: Pibulsongkram Rajabhat University. (in Thai)

4. Liamthaisong, K. (2011). Developing a Web-based Instruction Blended Learning Model Using the Creative Problem –Solving Process Developing Creative Thinking and Problem –Solving Thinking of Undergraduate Students. Doctor of Philosophy Thesis. Educational Technology and Communications, Mahasarakham University. (in Thai)

5. Lowriendee, W. (2010). Supervision of Instruction. Natkhon Pathom: Silpakorn University Printinghouse. (in Thai)

6. Saiyot, L. & Saiyot, A. (2000). Educational Research Techniques. Bangkok: Suveriyasarn. (in Thai)

7. Suthamdee, C. & Suthamdee, J. (2017). Conceptual Framework of Human Resource Development of an Organization in the 21st Century. Journal of Yala RajabhatUniversity, 12(Special Issue), 168-184. (in Thai)

8. Tattong, K. (2011). Teaching Thinking: Learning Management for Thinking Development. Bangkok: Petchkasem Printing. (in Thai)

9. Tayraukham, S. (2008). Research Methods for Humanities and Social Sciences. Kalasin: Prasan Printing. (in Thai)