การพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียนเพื่อส่งเสริมเจตคติต่อพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

พิณพนธ์ คงวิจิตต์
อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์
สิทธิกร สุมาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านอาเซียนในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา  2) พัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านที่ส่งเสริมเจตคติต่อพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา และ               3) ประเมินหนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียนที่มีต่อการส่งเสริมเจตคติต่อพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา  ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนศรีอยุธยา จำนวน 48 คน  เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการคัดเลือกนิทานพื้นบ้านอาเซียน  แบบวิเคราะห์พหุวัฒนธรรมอาเซียนจากนิทานพื้นบ้าน  แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการพัฒนาหนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียน  แบบวัดเจตคติต่อพหุวัฒนธรรม และแบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียนเกี่ยวกับการใช้หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่ามัชฌิมเลขคณิต( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่า t-test (dependent samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นิทานพื้นบ้านสะท้อนวัฒนธรรมร่วมอาเซียน คือ การเป็นสังคมเกษตรกรรม  มีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับสายน้ำและยึดมั่นในความดี  2) หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 บทได้แก่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนิทานพื้นบ้าน  นิทานพื้นบ้านกลุ่มไท-กะได  นิทานพื้นบ้านกลุ่มจีน-ทิเบต นิทานพื้นบ้านกลุ่มออสโตรเอเชียติก  นิทานพื้นบ้านกลุ่มออสโตรนีเชียน และแตกต่างหรือช่างคล้าย: ปริทัศน์วัฒนธรรมจากนิทานพื้นบ้านอาเซียน โดยแต่ละบทมีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ การเขียนอธิบายทางวัฒนธรรม คำถามท้ายบทและกิจกรรมเสนอแนะ  3) หนังสือนิทานพื้นบ้านอาเซียนที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และสามารถพัฒนาเจตคติต่อพหุวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Chutintaranon, S., Phongphat, R., Prompunya, N., Prompunya, M., Chumkran, K., Buakhamsri, T., et al. (2009). The Nationalism of Thai Textbooks. Bangkok: Matichon. (in Thai)

2. Goodenough, W. H. (1964). Cultural Anthropology and Linguistics. In D. Hymes. (ed.), Language in Culture and Society (124-158). New York: Harper and Row.

3. Gopalakrishnan, A. (2011). Multicultural Children’s Literature. California: SAGE.

4. Intanin, P. (2003). Better Reading. Chonburi: Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University. (in Thai)

5. Isarangkura Na Ayudhaya, W. (2011). ASEAN Studies Curriculum: The Important Concepts. In Youth Preparing for ASEAN Communities, July 30-31, 2011. Bangkok: Social Study Teachers Association. (in Thai)

6. Jitjumnong, D. (2013). The Introduction to Literature Criticism. Bangkok: Praphansan. (in Thai)

7. Mio, J. F., Hackett, L. B. & Tumambing, J. (2006). Multicultural Psychology: Understanding our Diverse Communities. Boston: McGrawHill.

8. Nimmanhaemin, P. (2008). Folktale Study. (3rd ed.). Bangkok: Facculty of Art, Chulalongkorn University. (in Thai)

9. Niyomtam, O. & Thongthai, V. (2015). The attitude towards ASEAN community by students at Rajamangala University of Technology Lanna Tak. Journal of Humanities and Social Sciences, Burapha University, 23(41), 273-290. (in Thai)

10. Paige, R. M., Jorstad, H., Siaya, L., Klein, F. & Colby, J. (2014). Culture Learning in Language Education: A Review of the Literature [Online]. Retrieved April 20, 2016, from:https://www.carla.umm.edu/culture/Resources/litreview.pdf.

11. Panyawutthikrai, P. (2013). Life Opening Neighbor Reading. In Thailand Conference on Reading 2013, March 21-22, 2013. Bangkok: TK Park.

12. Tepsing, P. & Bunprakarn, K. (2016). Local Wisdoms in Thailand-Malaysia Border Culture: A Case Study of Lohjood Community, Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 19-38. (in Thai)

13. Thongthai, C. (2013). Perception and Attitide Affecting Readiness Entry into ASEAN Economic Community of Graduate Students at Srinakarinwirot University. Master’ s Thesis. Srinakarinwirot University. (in Thai)

14. Uwanno, T. (2003). Attitude: Major Theoretical Approaches. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

15. Wonglaeka, F. (2011). Textbooks: The Important Assistant for Student’ Qualities Development [Online]. Retrieved November 24, 2015, from: social.obec.go.th/node/99. (in Thai)