การศึกษาลักษณะภายนอกที่ใช้ในการคัดเลือกและอนุรักษ์พันธุกรรมของกระบือปลักด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรในอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะภายนอกที่ใช้ในการคัดเลือกและอนุรักษ์พันธุกรรมของกระบือปลักด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรบ้านดอนสมอ ตำบลท่าบ่อสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 75 ราย ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เชิงอุปนัย-นิรนัย จำแนกประเภท และเปรียบเทียบข้อมูล ประกอบการอธิบายแบบพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีทัศนคติในการเลี้ยงกระบือ เพื่อยกระดับสายพันธุ์กระบือในกลุ่มของตนเองให้มีรูปร่างใหญ่ สวยงามตามอุดมทัศนีย์ของกระบือไทย โดยมีลักษณะที่ใช้พิจารณาด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ 13 ลักษณะ ได้แก่ 1) โครงสร้างลำตัวยาว สูงใหญ่ 2) ขาแข็งแรง เหมาะสมกับลำตัว 3) บั้งคอสีขาว ใต้คอ 2-3 บั้ง 4) หน้า และดวงตาแจ่มใส 5) ตาแต้มทั้ง 2 ข้าง 6) มีจุดสีขาวบริเวณแก้มทั้ง 2 ข้าง 7) เท้า 4 ข้าง มีสีขาว 8) เขาใหญ่ กางออก และปลายมนหากัน 9) ลูกอัณฑะใหญ่ เสมอกัน ไม่บิด 10) หางใหญ่ ยาว เหง้าหางเต็ม 11) ลึงค์รัดติดหน้าท้องตรง 12) ตำแหน่งขวัญที่เป็นมงคล และ 13) ไม่มีลักษณะกาลกิณี
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Jankeaw, D. & Suthiphom, W. (2016). Factors Influencing Use of Local Agricultural Knowledge and Wisdom to Strengthen Economic Community in Lower Northeastern, Thailand. Journal of Community Development and Life Quality, 4(2), 188-199. (in Thai)
3. Indramangala, J. (2005). Thai Buffalo for Sustainability. Bangkok: Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperative. (in Thai)
4. Kupkaeo, K. (2010). Knowledge local wisdom for selection Swamp Buffalo. Bangkok: Bureau of Animal Husbandy and Genetic Improvement, Bangkok: Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperative. (in Thai)
5. Nakhon Phanom Provincial Livestock Office. (2015). Conclusion Report Group of Fancy Swarm Buffalo in Ban Don Samo. Nakhon Phanom: Department of Livestock Development Ministry of Agriculture and Cooperative. (in Thai)
6. Phromnoi, S. & Dontongdang, S. (2013). Study of situation and Diversity of swamp Production for Sustainable of Utilization and Conservation of Buffalo in Uttaradit Province. Uttaradit: Full report research, Uttaradit Rajabhat University. (in Thai)
7. Prampree, T. (2015). Promoting Local Tradition Ram Phi Fa to Enhance Tourism Potential of Members of the Tambon Administration Na Siao, Muang Chaiyaphum, Chaiyaphum Province. Journal of Community Development and Life Quality, 3(1), 29-39. (in Thai)
8. Roengtam, S. (2016). Strengthening Participatory Role of Community Organizations in Public Service Deliveries of Khon Kaen City Municipal, Khon Kaen Province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(2), 65-79. (in Thai)
9. Sanghuayphrai, N., Faree, S. & Luengcharatsuriya, K. (2009). Characteristic of Thai buffalo with Judging Contest. Bangkok: Bureau of Animal Husbandy and Genetic Improvement, Department of Livestock Development, Ministry of Agriculture and Cooperative. (in Thai)
10. Udomlamun, S., Maso, Z., Wutthiwong, V., Rungrut S., Wongkamhang, C. & Chaelee, S. (2017). The Establishment of the Community Participation in the Development Ancient Remains: Case Study in Ban Ja-le Ancient Remains, Yarang District, Pattani Province. Journal of Yala Rajabhat University, 56(Special Issue), 56-72. (in Thai)
11. Vechgama, K., Jaiboon, S. & Leksomboon, K. (2016). The Factors to Self Help Group Management Case Study Bann Rai Si La Thong Mortar Maker Group. Journal of Community Development and Life Quality, 4(1), 75-83. (in Thai)