[Retracted Article] การทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวในการวิจัยทางสังคมศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดและหลักในการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้เริ่มต้นที่ต้องการศึกษาหลักการในการออกแบบงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกับวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ตั้งแต่แนวคิดหลักของการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ข้อตกลงเบื้องต้นและสถิติที่ใช้ในการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้น ผลของการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้น และแนวทางการแก้ไขการฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้น โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เป็นวิธีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างตัวแปรอิสระจำนวน 1 ตัวแปรกับตัวแปรตามจำนวน 1 ตัวแปร ซึ่งมีข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิติเพื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ดังต่อไปนี้ 1) ตัวแปรอิสระมีลักษณะเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มหรืออยู่ในมาตรวัดตั้งแต่ระดับนามบัญญัติขึ้นไป โดยมีค่าของตัวแปรย่อยตั้งแต่ 3 กลุ่ม หรือ 3 ค่าขึ้นไป 2) ตัวแปรตามเป็นตัวแปรต่อเนื่องหรืออยู่ในมาตรวัดตั้งแต่ระดับอันตรภาคชั้นขึ้นไป 3) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบจะต้องมีการแจกแจงแบบเป็นปกติ 4) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบต้องเป็นอิสระจากกัน และ 5) ตัวอย่างแต่ละกลุ่มที่ใช้ในการทดสอบมีความเป็นเอกพันธ์มิติระหว่างกลุ่มเท่ากัน ทั้งนี้หากได้ทำการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นแล้วพบว่ามีการฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้มีผลต่อการทดสอบทางสถิติหลายประการ ซึ่งจะทำให้ได้รับผลการวิจัยที่ได้รับจากการทดสอบทางสถิติที่ไม่ถูกต้อง จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกใช้วิธีทางสถิติที่เหมาะกับลักษณะของข้อมูลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Cochran, W. G. & Cox, G. M. (1976). Experimental design. New York: John Wiley and Sons.
3. Feir, B. J. & Toothaker, L. E. (1974). The ANOVA F – test versus the Kruskal – Wallis test: A robustness study. American educational research association, 59(23), 226-234.
4. Fisher, R. A. (1959). Statistical methods and scientific inference. London: Oliver and Boyd.
5. Scheffe, H. (1970). The analysis of variance. (6th ed). New York: John Wiley and Sons.
6. Siriattakul, P. (2012). One-way ANOVA: Social science research. Journal of Interdisciplinary Research:
Graduate Studies, 1(1), 13-23.