ผลทางกฎหมายของการไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดในบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
Main Article Content
บทคัดย่อ
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยผ่านการเลือกตั้งโดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้มีพัฒนาการมาโดยลำดับ โดยเฉพาะกฎหมายเลือกตั้งได้เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือการไม่ประสงค์จะลงคะแนนได้ ซึ่งการใช้สิทธิออกเสียงดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงออกตามแนวทางของประชาธิปไตย เป็นการแสดงออกภายใต้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองของบุคคลและเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ผลทางกฎหมายของการที่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้ใช้สิทธิไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดก็มีพัฒนามาโดยลำดับเช่นกัน ซึ่งแรกเริ่มของการที่กฎหมายเปิดโอกาสให้มีการใช้สิทธิเพื่อการดังกล่าวได้นั้น เป็นแต่เพียงการส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเท่านั้น หาได้มีผลทางกฎหมายจากการใช้สิทธิดังกล่าวแต่อย่างใดไม่ แต่ต่อมากฎหมายเริ่มให้ความสำคัญกับการใช้สิทธิไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดมากขึ้น โดยที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 85 ประกอบกับมาตรา 92 ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญทางกฎหมายเช่นว่านั้นได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งบัญญัติให้กรณีที่เขตเลือกตั้งใดที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งรายใดได้รับคะแนนมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตเลือกตั้งนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นใหม่และมิให้นับคะแนนที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนได้รับไปใช้ในการคำนวนหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวมถึงตัดสิทธิมิให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งรายเดิมทุกรายในเขตเลือกตั้งนั้นลงสมัครในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่ด้วย ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่หลากหลายของประชาชนและกฎหมายก็ได้ให้ความสำคัญมาโดยลำดับเช่นกัน
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Constitution Drafting Committee. (2016). Description of the principle of the constitution draft vol.1. Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives. (in Thai)
Mewongukote, B. (1999). The election and the party. Bangkok: Institute of Public Policy Studies. (in Thai)
Thepjumnong, A. (2011). Right to No-Vote. Bot Bundit, 67(1), 44-65. (in Thai)
Thepjumnong, A. (2013). Right to No-Vote: Prospects and pitfalls of encouraging No-Vote rights in the House of Representatives’ Election. Bangkok: University of the Thai Chamber of Commerce. (in Thai)