การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 2) สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ศึกษาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย 4) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฯ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดในการออกแบบมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การออกแบบสื่อประสม การออกแบบปฏิสัมพันธ์ การออกแบบการเรียนรู้ และแก่นเรื่องทางวัฒนธรรม 2) รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สอดคล้องตามหลักการเรียนรู้ภาษาที่เน้นความเข้าใจตามธรรมชาติ เน้นให้นักเรียนได้ฟังเนื้อหาทั้งหมดในบทนั้นๆ ก่อนด้วยการนำเสนอเนื้อหาแบบ “เล่นอัตโนมัติ” ตามด้วย “กำหนดการเล่นเองแบบอ่านให้ฟัง” แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านด้วยตนเองในรูปแบบ “กำหนดการเล่นเองแบบอ่านด้วยตนเอง” ตามลำดับ 3) การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพ 75.50/76.66 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 75/75 4) ผลการเรียนรู้หลังเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Huennekens, M. E. & Xu, Y. (2010). Effects of a cross-linguistic storybook intervention on the second language development of two preschool English language learners. Early Childhood Educ, 38, 19-26.
3. Kennedy, L. Z., Abdelaziz, Y. & Chiasson, S. (2017). Cyberheroes: The design and evaluation of an interactive ebook to educate children about online privacy. International Journal of Child-Computer Interaction, 13, 10-18.
4. Krashen, S. D. (2009). Principles and Practice in Second Language Acquisition [Online]. Retrieved January 20, 2017, from: http://www.sdkrashen.com/content/books/principles_and_ practice.pdf
5. Makaramani, R. (2013). Thai Teachers and ICT. The Teachers’ Council Conference 2013, September 14-15, 2013. Bangkok: The Teachers’ Council. (in Thai)
6. Panich, W. (2015). How to develop the learning for Disciple in 21st Century. The Journal of Learning Innovation, 1(2), 3-14. (in Thai)
7. Pariyawatid, P. & Napapongs, W. (2016). Effecting Augmented Reality Code of Chiness Vocabularies Lesson for Grade 3 Students at Tessaban 2 Wattaninarasamosorn. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(1), 9-17. (in Thai)
8. Phadung, M., Suksakunchai, S. & Kaewprapan, W. (2016). Interactive whole language e-story for early literacy development in ethnic minority children. Education and Information Technologies, 21(2), 249-263.
9. Phadung, M., Suksakulchai, S., Kaewprapan, W., Somrueng, S., Anuntrasena, P. & Panaejakah, R. (2013). States of Learning Experience for the Preschool Children using Thai as Second Language and Tendency of Bilingual Multimedia Development: Case study of Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 8(1), 31-39. (in Thai)
10. Pulpipat, N. (2014). Teaching for Tackling Illegible Problem. FEU Academic Review, 7(2), 48-54. (in Thai)
11. Roskos, K., Brueck, J. & Widman, S. (2009), Investigating analytic tools for e-book design in early literacy learning, Journal of Interactive Online Learning, 8(3), 218–240.
12. Songmuang, J. (2012). Development of E-Learning System for Instruction in Islamics Private Schools. Doctor’s Thiesis. Prince of Songkla University. (in Thai)