การสนับสนุนทางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ บุคลิกภาพที่เข้มแข็งและความวิตกกังวลใน การเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

Main Article Content

ณิชากร เจนศิริศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสนับสนุนทางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ บุคลิกภาพที่เข้มแข็งและความวิตกกังวลในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 2) ศึกษาเปรียบเทียบความวิตกกังวลในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ บุคลิกภาพที่เข้มแข็งและความวิตกกังวลในการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 381 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย                       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test การเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสนับสนุนทางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ และบุคลิกภาพที่เข้มแข็งโดยรวมอยู่ในระดับสูง ส่วนความวิตกกังวลในการเรียนอยู่ในระดับปานกลาง 2) นิสิตที่มีเพศต่างกัน มีความวิตกกังวลในการเรียนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การสนับสนุนทางสังคมโดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเรียน และรายด้านพบว่า การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ การสนับสนุนด้านสิ่งของและบริการมีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลในการเรียน การสนับสนุนทางด้านการประเมิน การสนับสนุนทางด้านข้อมูลและข่าวสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความวิตกกังวลในการเรียน ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเรียน และรายด้านพบว่า การเข้าใจอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความวิตกกังวลในการเรียน บุคลิกภาพที่เข้มแข็งโดยรวมและรายด้านไม่มีความสัมพันธ์กับความ                  วิตกกังวลในการเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: Freeman.

2. Boonsri, A. (2006). Bloggang [Online]. Retrieving December 21, 2017, from: thaiteam.wikispaces.com/ปัญหาที่พบ. (in Thai).

3. Deetae, N. (2014). Factors affecting on emotional quotient of the student in Pibulsongkram Rajabhat university in, Phisanulok. Master’s Thesis. Pibulsongkram Rajabhat University. (in Thai).

4. Kendall, P. C. (1992). Anxiety Disorders in Youth. Massachusetts: Needham Heights.

5. Kobasa, S. C. (1982). The Hardy Personality: Toward a Social Psychology of Stress and Health. In Sanders, Glenn S. (ed.). Social Psychology of Health and Illness. New Jersey: Lawrence Eribaum Association, Inc., 3-29.

6. Mayer, J. D. & Salovey, P. (1997). Emotional Development and Emotional Intelligence: Implications for Educator. New York: Basic Book.

7. Melinda, D. (2008). Development and Validation of a Measure of Social Support for School Consultation. Doctor of Philosophy. North Carolina State University.

8. Office of the Registrar. (2013a). Resign Statistic of First Year Students 2553-2556. Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

9. Office of the Registrar. (2013b). Number of First Year Students 2556 Kasetsart University Bangkhen Campus.Bangkok: Kasetsart University. (in Thai)

10. Pender, N. J., Murdaugh, C. L. & Parsons, M. A. (2001). Health Promotion in Nursing Practice. (4thed.). New Jersey: Prentice Hall, Inc.

11. Sueamak, P. (2011). Factors Related to Surveillance, Prevention, and Control Avian Influenza among Village Health Volunteers in Muang District , Suratthani Province. Journal of Yala
University, 6(2), 150-160. (in Thai)

12. Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (4th ed.). New York: Harper & Roe.