การศึกษาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ด้วยการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลักสูตร English Program

Main Article Content

กีรติกา มาฆะสุข

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังจากได้รับการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาและศึกษาความรู้วิชาสังคมศึกษาของนักเรียนหลังได้รับวิธีการสอนดังกล่าวข้างต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/7 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสังคมศึกษาหลักสูตรสองภาษา (Intensive English Program) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ จำนวน 5 แผนและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบความรู้เนื้อหาสังคมศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษ จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในหารวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ one-sample t-test และpaired t-test ผลการวิจัยพบว่าหลังได้รับการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหา นักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาผ่านเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Arksaranukhra, S. (1989). Teaching English Language Skills. Bangkok: Secondary Education Department Faculty of Education Chulalongkorn University. (in Thai)

2. Department of Education, Ministry of Education. (1996). English Curriculum 1996 in Elementary Curriculum 1978 (revised edition 1990) middle school curriculum 1978 (revised edition 1990). Bangkok: Express Transportation Organization of Thailand. (in Thai)

3. Devakul Na Ayudhya, M. (2007). Environmental Content-Based Instruction to Promote English Reading and Writing Abilities and Conservation Awareness of Beginner Level Students. Master’s Thesis. Chiang Mai University. (in Thai)

4. Euengsakul, B. (2002). Development of English Learning Process Principle and Practice. Academic Journal, 5(7), 52-70. (in Thai)

5. Krashen, S. (1982). Principles and Practice in Second Language Acquisition. Oxford: Pergamon Press.Lightbown, P. & Spada, N. (2006). How Languages are Learned, (3rd ed.). New York: Oxford University Press.Ministry of Education. (2009). Standards-Based Curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Co-coperative Federation of Thailand. (in Thai)

6. Richards, J. C. & Rodgers, T. S. (2001). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed.). Cambridge:Cambridge University Press.

7. Saengsin, N. (2000). Teaching English as a Second or Foreign Language. Chiang Mai: Secondary Education Department Faculty of Education Chiang Mai University. (in Thai)

8. Settlage, J., Madsen, A. & Rustad, K. (2005). Inquiry Science, Sheltered Instruction, and English Language Learners: Conflicting Pedagogies in Highly Diverse Classrooms. Issues in Teacher Education, 14(1), 39-57.

9. Snow, M. A. & Brinton, D. M. (eds.). (1997). The Content-Based Classroom: Perspectives on Integrating Language and Content. New York: Longman.

10. Wongchomphu, S. (2012). Science Content-Based Language Instruction to Promote English Reading Ability and Science Knowledge Among Prathom Suksa 6 Students. Master’s Thesis. Chiang Mai University. (in Thai)