การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

Main Article Content

รพีพล อินสุพรรณ
ประสาท เนืองเฉลิม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง โมเมนตัมและการชน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 7 คน วงจรปฏิบัติการที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 13 คน 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 5 คน วงจรปฏิบัติการที่ 2 การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ได้พัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 9 คน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Besa, N. (2014). Effects of STEM education approach on biology achievement, problem solving ability and instructional satisfaction of grade 11 students. Master’s Thesis. Prince of Songkla University. (in Thai)

Dejarnette, N. K. (2016). America's children: Providing early exposure to stem (science, technology, engineering and math) initiatives. Reading Improvement, 53(4), 181.

Hajeekhadae, A. (2018). Effect of STEM education approach on biology achievement, scientific creativity and instructional satisfaction of grade 11 students. Master’s Thesis. Prince of Songkla University. (in Thai)

Hu, W., & Adey, P. (2002). A scientific creativity test for secondary school students. International Journal of Science Education, 24(4). 391.

Kanyaprasith, K. (2015). Socio-Scientific issues for 21st century skills. Journal of Education Burapha University, 26(2), 1-2. (in Thai)

Kitkuekul, S. (2015). STEM education (Part II): How to integrate STEM education in classroom teaching. Journal of Education Naresuan University, 3, 155-157. (in Thai)

Konechaiyaphum, P. (2017). A development of activity-based learning with the STEM education on the photosynthesis issue to promote students’ learning achievements and systems thinking abilities. The 1st National Conference of Academic Conferences and Presentations, May 4, 2017. Roi Et: Roi Et Rajabhat University. (in Thai)

Lin, C., Hu, W., Adey, P., & Shen, J. (2003). The influence of CASE on scientific creativity. Research in Science Education, 33(2), 143-145.

Prachagool, V. and Nuangchalerm, P. (2018). Integration in preliminary definition of STEM education. Journal of Education Mahasarakham University, 12(2), 314-315. (in Thai)

Prasertsang, P. (2016). Learning design for STEM education. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 3(3), 130-131. (in Thai)

Siew, N. M., Chong, C. L., & Lee, B. N. (2015). Fostering fifth graders’ scientific creativity through problem-based learning. Journal of Baltic Science Education, 14(5), 657.

Tidma, P. (2015). STEM education in topic of human systems to promote creative thinking of 8th grade students. Ratchaphruek Journal, 13(3), 74-75. (in Thai).