รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยสันตพล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยสันตพล และตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมติฐานการวิจัย โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 274 คน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู จำนวน 210 คน และนักศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้น 510 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้วิทยาลัยสันตพลประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างองค์กร การจัดการเรียนรู้ วัฒนธรรมองค์กร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเชิงกลยุทธ์ และรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า เท่ากับ 220.18 ค่า df เท่ากับ 177 ค่า p-value เท่ากับ 0.15 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.02 ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มากที่สุด รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์กร การจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างองค์กร และการจัดการเชิงกลยุทธ์ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 68 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Ducker, P. F. (1995). Managing in the time of great change. Oxford: Butterwort-unnemann.
3. Kaiser, S. M. (2000). Mapping the learning organization: Exploring a model of organizational learning. Ph.D. Dissertation. U.S.A.: Louisiana State University.
4. Kaiyawan, Y. (2013). Multivariate statistical analysis for research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)
5. Kulsorn, S. (2011). Model of causal relationships of factors affecting learning organization of the office of educational service areas in Northeast Thailand. Dissertation of Educational Administration, Khonkaen. North Eastern University. (in Thai)
6. Ministry of Education. (2010). National education act of B.E. 2542 (1999), and amendments (Second national education act B.E. 2545 (2002), and amendments (third national education act B.E. 2553 (2010). Bangkok: Express Transportation Organization of Trail. (in Thai)
7. Na-Nan, K. (2013). A Causal Model of Factors Affecting Knowledge Management of Staff’s Rajamangala University of Technology Thanyabury. Research Report of Faculty of Business Administration. Bangkok: Rajamangala University of Technology Thanyabury. (in Thai)
8. Rungkeaw, P. (2012). The development of learning organization model of Bunditpatanasilpa Institute Ministry of Culture. Dissertation of Educational Administration. Bangkok: Siam University. (in Thai)
9. Srijhunthuk, P. (2011). The factors affecting learning organization of surpporting personnel in Rajamangala University of Technology Isan. Master of Business Administration. Rajamangala University of Technology Isan. (in Thai)
10. Thaneerat, A., Chiamprachanarakorn, S. & Thongyu, O. (2012). Learning organization model for the Faculties of Education of Rajabhat Universities in the Bangkok Metropolitan. Research Report of Faculty of Education. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University. (in Thai)
11. Yamane, T. (1967). Statics: An introductory analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.