การใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยไอซีทีของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยไอซีทีของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการบูรณาการสารสนเทศ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 52 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์การจัดการความรู้ และแบบสอบถามการจัดการความรู้ด้วยไอซีที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานประกอบด้วย 8 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นสร้างความพร้อม ละลายพฤติกรรม สร้างเจตคติทางบวกจากห้องเรียนสู่ชุมชน 2) ขั้นวางแผนการดำเนินงาน 3) ขั้นสำรวจแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติในชุมชน 5) ขั้นอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อค้นพบ และสะท้อนความรู้ 6) ขั้นผลิตผลงานการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยไอซีที 7) ขั้นนำเสนองานสรุปผล 8) ขั้นการสะท้อนกลับ สามารถพัฒนาการจัดการความรู้ด้วยไอซีทีของนักศึกษาได้ ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการความรู้ด้วยไอซีทีของนักศึกษาหลังการทดลองมีระดับการปฏิบัติมากที่สุด ( = 4.20, S.D. = 0.48) เมื่อแยกเป็นรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เรียงลำดับได้ดังนี้ การสร้างสรรค์นวัตกรรม ( = 4.27, S.D. = 0.47) การแบ่งปันความรู้ ( = 4.25, S.D. = 0.54) ความเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ( = 4.23, S.D. = 0.57) การทำงานเป็นทีม ( = 4.19, S.D. = 0.55) ความใฝ่รู้และเป็นมิตรกับความรู้ ( = 4.16, S.D. = 0.52) และการเป็นแรงงานความรู้ ( = 4.15, S.D. = 0.56) 2. กระบวนการจัดการความรู้ด้วยไอซีทีที่นำมาใช้ประโยชน์ในชุมชนคือ คลิปวิดีโอสั้น เฟสบุ๊ค ไลน์ เว็บบล็อก อินโฟกราฟิค ฐานข้อมูล และแอพพลิเคชั่น ตามลำดับ
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Encyclopedia of Thai Youth. (2017). [Online]. Retrieved June 5, 2017, from: https://www.kanchanapisek.or.th. (in Thai)
3. Keong, L. C. & Al-Hawamdeh, S. (2002). Factors Impacting Knowledge Sharing. JIKM, 1(1), 49-56. Local Wisdom Thai Wisdom. (2017). [Online]. Retrieved June 5, 2017, from: https://www.tkc.go.th. (in Thai)
4. Maesincee, S. (2017). Sufficiency Economy Philosophy: Development paradigm in Thailand 4.0. [Online]. Retrieved June 5, 2017, from: https://www.facebook.com/Drsuvitpage/post/14000852036315390. (in Thai)
5. National Statistical Office. (2015). The Survey of Reading Habits of the Population by 2558. Bangkok: National Statistical Office. (in Thai)
6. Netwong, T. (2010). Development of A Mainstreaming Model to Develop Online Learning Community and Learning Achievement in Information Technology for Undergraduate Students. Doctor of Philosophy. Chulalongkorn University. (in Thai)
7. Panich, W. (2016). New Learning Culture [Online]. Retrieved December 30, 2016, from: https://gotoknows.org. (in Thai)
8. Pengjan, S. (2017). Project Design Learning to Learner’s Participations. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 47-59. (in Thai)
9. Phumduang, E. (2013). Knowledge Management for Lifelong Learning of Khokkotao Subdistrict, Muang Distric, Suphanburi Province. Bangkok: Suan Dusit University. (in Thai)
10. Punnitamai, W. (2016). Adjusting to Change the Learning Culture. [Online]. Retrieved December 30, 2016, from: www.stabundamrong.go.th/web/sarn/sarn31.pdf. (in Thai)
11. Tepsing, P. & Bunprakarn, K. (2016). Local Wisdoms in Thailand-Malaysia Border Culture: A Case Study of Lohjood Community, Narathiwat Province. Journal of Yala Rajabhat University, 11(1), 19-38. (in Thai)