ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสอน และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษาที่ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในปีการศึกษา 2560 จำนวน 135 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย จากมหาวิทยาลัย จำนวน 3 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การศึกษาพบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการสอนมากที่สุดตามลำดับ คือ 1) พฤติกรรมด้านอารมณ์และสังคม 2) พฤติกรรมด้านการสอน และ 3) พฤติกรรมด้านการจัดการชั้นเรียน และมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสอน 5 ลำดับแรกมากที่สุด คือ 1) ด้านหลักสูตรที่เคยศึกษา 2) ด้านการฝึกและการสัมมนาวิชาชีพ 3) ด้านเพื่อนร่วมงาน 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และ 5) ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ในส่วนตัวแปรที่สามารถทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 คือ 1) ปัจจัยด้านการเรียนรู้ของผู้สอน 2) ปัจจัยด้านนักเรียน 3) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน 4) ปัจจัยด้านอาจารย์พี่เลี้ยง และ 5) ปัจจัยด้านอาจารย์นิเทศก์ โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสอนได้ร้อยละ 74.2 (R-square=.742) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=24.689, P-value=.000)
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Assalihee, M., Saithong, S., Asmimana, K., & Bakoh, N. (2019). Teaching behaviors of the teaching Islamic studies pre-service teachers to encourage the students’ critical thinking skills in the Southern-Border Province contexts. Journal of Behavioral Science for Development (JBSD), 11(1), 15-34.
Goodman, J. S., Orange, A., & Schumacher, G. (2017). Charter school teacher attitudes, belief systems, and behaviors associated with substantive student academic achievement. The Charter Schools Research Journal, 12(1), 35-54.
Hein, V. (2012). The effect of teacher behaviour on students motivation and learning outcomes: A review. Acta Kinesiologiae Universitatis Tartuensis, 18, 9-19. doi: https://doi.org/10.12697/akut.2012.18.02
Kyriakides, L., Creemers, B. P., & Antoniou, P. (2009). Teacher behaviour and student outcomes: suggestions for research on teacher training and professional development. Teaching and Teacher Education, 25(1), 12-23. doi: https://doi.org/10.1016/j.tate.2008.06.001
Merritt, E. G., Wanless, S. B., Rimm-Kaufman, S. E., Cameron, C., & Peugh, J. L. (2012). The contribution of teachers' emotional support to children's social behaviors and self-regulatory skills in first grade. School Psychology Review, 41(2), 141-159.
Ministry of Education. (2008). Islamic studies the basic education core curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Kurusapha Ladprao. (in Thai)
Pedhazur. (1997). Multiple regression in behavioral research explanation and prediction. (3rd Ed.). USA: Thomson Learning, Inc.
Pössel, P., Rudasill, K. M., Adelson, J. L., Bjerg, A. C., Wooldridge, D. T., & Black, S. W. (2013). Teaching behavior and well-being in students: Development and concurrent validity of an instrument to measure student-reported teaching behavior. International Journal of Emotional Education, 5(2), 5-30.
Ruengpraphan, Ch. (2002). Foundation of statistic with the example of using minitab SPSS and SAS program. Khon kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Rosenshine, B. (1976). Recent research on teaching behaviors and student achievement. Journal of Teacher Education, 27(1), 61-64.
Shakour, M., Yamani, N., & Yousefi, A. (2018). The factors affecting teaching and learning professionalism among medical teachers. The Health Care Manager, 37(2), 164-174.
Williams, M. N., Grajales, C. A. G., & Kurkiewicz, D. (2013). Assumptions of multiple regression: Correcting
two misconceptions. Practical Assessment, Research, and Evaluation, 18(1), 1-14.