การเสริมสร้างสมรรถนะเฉพาะทางของครูช่างสาขาอุตสาหกรรมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

Main Article Content

พิชิต อ้วนไตร
สมศักดิ์ อรรคทิมากูล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการเสริมสร้างสมรรถนะเฉพาะทางของครูช่างสาขาอุตสาหกรรมศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การจัดการเรียนการสอนมีการบูรณาการวิธีการสอนทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติโดยใช้รูปแบบของโครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดหัวข้อ 2) ขั้นการวิเคราะห์ 3) ขั้นการวางแผนและออกแบบ 4) ขั้นการดำเนินงาน และ 5) ขั้นการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา จำนวน 20 คน ประจำปีการศึกษา 2561-2562 หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี การวัดและประเมินผลด้านสมรรถนะของผู้เรียนใช้การวิเคราะห์ทักษะการปฏิบัติงานทั้งในชั้นเรียนและผลการประเมินจากสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน DAPOA มีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นักศึกษาฝึกสอนสาขาอุตสาหกรรมศึกษามีสมรรถนะของครูช่างอุตสาหกรรมทั้งด้านความรู้และปฏิบัติการหลังจากการผ่านการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการปฏิบัติการสอนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ DAPOA มีค่าเฉลี่ย (E1/E2) เท่ากับร้อยละ 80.28/82.89 ซึ่งสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกสอนมีความรู้และทักษะในการสอนหลักสูตรทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามนักการศึกษาควรตระหนักและให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยสำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมและเพิ่มทักษะใหม่ให้กับครูช่างอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง สำหรับรองรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Balve, P. & Albert, M. (2015). Project-based learning in production engineering at the heilbronn learning factory. Journal of Procedia CIRP, 32, 104-108.

Jeenawong, R. (2013). The development of project-based instruction on microwave antenna for undergraduate education in telecommunication engineering. Ph.D.’s Thesis. King Mongkut’s

University of Technology North Bangkok. (in Thai)

Laohajaratsang, T. (2019). Competency, skills and roles of 21st century Thai teachers [Online]. Retrieved March 24, 2020, from: https://trainflix.com. (in Thai)

Maneewan, D., Nuangpirom, P. & Ruangsiri, K. (2017). The development of GUI-MATLAB based simulation program for principle of communication system course. The 2nd International STEM Education Conference, July 12-14, 2017. Chiang Mai.

Pengjan, S. (2017). Project design learning to learners’ participations. Journal of Yala Rajabhat University, 12(2), 47-59. (in Thai).

Reid, K. J. & Baumgartner, E. (2011). Work in progress - putting the “E” in STEM teacher preparation: A new bachelor of science degree with an Engineering Education Major. 2011 Frontiers in Education Conference (FIE), October 12-15, 2011. Rapid City: SD USA.

Samart, J. (2013). Application of GIPSA cooperative learning model on filter circuits of telecommunication Engineering education. Ph.D.’s Thesis. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. (in Thai)

Srichailard, P. & Tiantong, M. (2019). A conceptual framework of blended learning by project based learning with STAD learning activities. Journal of Industrial Education, 18(1), 189-198. (in Thai).

The Teacher’s Council of Thailand. (2013). The Teacher’s Council of Thailand [Online]. Retrieved March 24, 2020, from: http://www.ksp.or.th. (in Thai)

The Teacher’s Council of Thailand. (2019). National Education Act B.E. 2542 (1999) [Online]. Retrieved March 23, 2020, from: http://site.ksp.or.th/. (in Thai)

Uantrai, P. & Akatimagool, S. (2019). Improvement of pre-service teachers’ professional competencies using DAPOA project-based learning. The 22nd International Conference on Interactive Collaborative Learning, September 25-28, 2019. Bangkok: Intercontinental Bangkok.