การพัฒนาแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลถึงผู้บริโภคสำหรับธุรกิจยาแผนปัจจุบัน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารการตลาดดิจิทัลถึงผู้บริโภคสำหรับธุรกิจยาถูกควบคุมให้ขออนุญาตก่อนเผยแพร่อย่างเคร่งครัดจากหน่วยงานรัฐ แต่กลับพบการฝ่าฝืนจากผู้ไม่ขออนุญาตหรือให้ข้อมูลแฝงการขายยาอยู่มาก ดังนั้น การวิจัยนี้จึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของธุรกิจยาถึงผู้บริโภคและนำไปพัฒนาแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลถึงผู้บริโภคสำหรับธุรกิจยาแผนปัจจุบันด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการสื่อสารการตลาดการตลาดดิจิทัลของธุรกิจยาประกอบด้วยผู้ควบคุมจริยธรรม ผู้ค้นหาข้อมูลยาผ่านสื่อดิจิทัล (ผู้บริโภค/บุคลากรทางการแพทย์) และนักการตลาดดิจิทัลของธุรกิจยา จำนวนทั้งหมด 53 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาให้ได้ประเด็นปัญหาและอุปสรรคของแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการสื่อสารการตลาดจากการระดมสมองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบผู้ควบคุมจริยธรรมประสบปัญหาปริมาณงานมาก งานซับซ้อน และต้องการปรับกฎหมายให้ตอบสนองการตลาดดิจิทัล ผู้บริโภคขาดแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและต้องการปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และผู้ควบคุมจริยธรรมกังวลความปลอดภัยของผู้บริโภค นักการตลาดประสบปัญหาถูกจำกัดเนื้อหาและระยะเวลาการขออนุญาต ดังนั้นการวิจัยได้ผลการพัฒนาแนวทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัลของธุรกิจยาจากการคิดเชิงออกแบบประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการกำกับดูแลของภาครัฐและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดตั้งฐานข้อมูลยา และการพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับแนวทางที่ได้ ผลการวิจัยนำไปเสนอแนะแก่หน่วยงานภาครัฐ สมาคมวิชาชีพและผู้ประกอบการธุรกิจยาในการวางนโยบายการตลาดดิจิทัลต่อไป
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
BizNews. (2020). Consumers please note! 'Food / medicine / health products' encountered 'exaggerated advertising problems' [Online]. Retrieved March 15, 2020, from: http://www.bizpromptinfo.com/อาหาร-ยา-ผลิตภัณฑ์สุขภา/. (in Thai)
Creswell, J.W. (2013). Qualitative inquiry & research design: Choosing among the five approaches. Thousand Oaks, CA: SAGE Publications, Inc.
Creswell, J. W., & Miller, D. L. (2000). Determining validity in qualitative inquiry. Theory into practice, 39(3), 124-130.
Dworkin, S. L. (2012). Sample size policy for qualitative studies using in-depth interviews. Archives of Sexual Behavior, 41(6), 1319-320.
Eisenhardt, K. M. (1989). Agency theory: An assessment and review. Academy of Management Review, 14(1), 57–74.
Elwyn, G., Frosch, D., Thomson, R., Joseph-Williams, N., Lloyd, A., Kinnersley, P., et al. (2012). Shared decision making: a model for clinical practice. Journal of general internal medicine, 27(10), 1361-1367.
Girardi, C. (2017). The evolving role of digital marketing in healthcare. [Online]. Retrieved September 28, 2018, from: https://www.evariant.com/blog/evolving-role-digital-marketing-healthcare.
Jacobs, W., Amuta, A. O., & Jeon, K. C. (2017). Health information seeking in the digital age: An analysis of health information seeking behavior among US adults. Cogent Social Sciences, 3(1), 1-11.
Kumnooy, P. (2020). Illegal drug advertisings and strategy. Thai Food and Drug Journal, 27(1), 41-52. (in Thai)
Lefebvre, R. C., & Kotler, P. (2011). Design thinking, demarketing and behavioral economics: Fostering interdisciplinary growth in social marketing. The Sage handbook of social marketing, London: SAGE Publications.
Mackey, T. K., Cuomo, R. E., & Liang, B. A. (2015). The rise of digital direct-to-consumer advertising?: Comparison of direct-to-consumer advertising expenditure trends from publicly available data sources and global policy implications. BMC health services research, 15(1), 1-9.
Malterud, K., Siersma, V. D., & Guassora, A. D. (2016). Sample size in qualitative interview studies: guided by information power. Qualitative health research, 26(13), 1753-1760.
Medicines Regulation Division, Ministry of Health. (1967). the Drug Act, B.E.2510 (A.D.1967) and its amendments. [Online]. Retrieved March 10, 2020, from: http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/SitePages/AD-Rule01.aspx. (in Thai)
Sirikanratana, C. (2016). Legal problems related to drug and dietary supplement cosmetics and medical supplies advertisement via website. Assumption University Law Journal, 7(2), 113-128. (in Thai)
Tipkanjanaraykha, K., Yingrengreung, S., Kheokao, J., Ubolwan, K., Jaemtim, N., & Promsuan, W. (2017). Health information seeking behaviors of elderly through online media according to perceived health status. Journal of Health science research, 11(Supplement), 12-22. (in Thai)