การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สำหรับนักเรียนชนเผ่าลาหู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สิรินทิพย์ ญาณะพันธ์
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยังคงเป็นปัญหาจึงทำวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่องปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สำหรับนักเรียนชนเผ่าลาหู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 คน โรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดกำแพงเพชร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจร เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 6 ขั้น ได้แก่ 1) การทำความเข้าใจปัญหา 2) การทำปัญหาให้ง่ายขึ้น 3) การคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 4) การดำเนินการทางคณิตศาสตร์ 5) การแปลความหมายและการตรวจสอบความเหมาะสม 6) การนำเสนอ มีประเด็นที่ควรเน้น คือ การใช้สถานการณ์ปัญหาในบริบทชีวิตจริงที่มีความสัมพันธ์กับนักเรียน ให้นักเรียนสร้างสมมติฐานและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่การแก้ปัญหา รวมถึงการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างสม่ำเสมอและให้ความช่วยเหลือด้านการใช้ภาษาไทยของนักเรียนชนเผ่าในการเขียนและนำเสนอ รวมทั้งยังพบว่าในวงจรปฏิบัติการที่ 3 นักเรียนส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ 85) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับ 3 นั่นคือ นักเรียนเข้าใจปัญหาและเลือกกลยุทธ์ในการแก้ปัญหารวมไปถึงการตรวจสอบและสะท้อนกระบวนการแก้ปัญหาได้ แต่ยังคงต้องพัฒนาในด้านการสำรวจปัญหาต่อไป ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Kijkuakul, S. (2014). Learning science directions for teachers in the 21st century. Phetchabun: Juldiskarnpim. (in Thai)

Makanong, A. (2010). Mathematical skills and processes: Development for development. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). Indicators and learning areas of mathematics (Revised edition 2017) according the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand. (in Thai)

Nenthien, S. (2017). Mathematics learning with real-world problems based on mathematical modeling.

Journal education, 45(2), 238-253. (in Thai)

Pluempitiwiriyawei, K. & Makanong, A. (2019). Development of an instructional process based on

mathematical modeling and scaffolding approaches to enhance mathematical problem solving and representation abilities of lower secondary school students. Journal of Education Studies, 47(4), 86-107. (in Thai)

The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Mathematical skills and processes (3rd Ed.). Bangkok: The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (in Thai)

The institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). Assessment PISA 2015 reading science and mathematics: Excellence and equality in education. Bangkok: Success publication. (in Thai)

Tangkawsakul, S & Makanong, A. (2017). Development of mathematical activity package by using context based approach and mathematical modeling to enhance mathematical context abilites and attitude towards mathematical of ninth grade students. An Online Journal of Education, 12(3), 442-458. (in Thai)