การวิเคราะห์กลุ่มประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและส่งผลเสียหายต่อระบบสังคมเศรษฐกิจทั้งโลก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเตรียมพร้อมรับมือของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการระบาดของโรค สำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ร่วมกับการเลือกตัวอย่างตามความสะดวกและแบบลูกโซ่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อไปยังผู้ใช้งานกว่า 190 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 29 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2563 ได้ผู้ตอบจำนวน 622 คน ข้อคำถามครอบคลุมข้อมูลทางประชากรศาสตร์ และการเตรียมรับมือการระบาดไวรัสโควิด 19 ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยต่อการรับมือการระบาดไวรัสโควิด 19 ของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) การรับมือด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิตของคนในครอบครัว และการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร 2) การรับมือด้านการสังเกตอาการ การปฏิบัติ และการติดตามสถานการณ์จากภาครัฐ 3) การรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และการมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงของการระบาด 4) การรับมือด้านการประกันชีวิต อาชีพ หรือทางเลือกอื่น และ 5) การรับมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การซื้อสินค้า และการช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อสังคม และสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม 1 กลุ่มตื่นตัวในการรับมือ กลุ่ม 2 กลุ่มพร้อมรับมือ กลุ่ม 3 กลุ่มพร้อมรับมือแต่ยังไม่สนใจทางเลือกอื่น กลุ่ม 4 กลุ่มรับมือระดับปานกลาง และกลุ่ม 5 กลุ่มรับมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณร้อยละ 50 อยู่ในกลุ่ม 1 และกล่ม 2 ซึ่งเป็นกลุ่มรับมือได้ในระดับสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยรวม ผลที่ได้ครั้งนี้รัฐอาจต้องบริหารจัดการกลุ่มประชาชนเพื่อให้คลายกังวลโดยแยกตามความแตกต่างทางประชากรศาสตร์ หรืออาจใช้นโยบายในการรับมืออย่างทันท่วงทีเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกจนเกินไปสู่การเตรียมพร้อมต่อสถานการณ์การระบาดในอนาคต
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
Bai, Y., Lin, C.C., Lin, C.Y., Chen, J., Chue, C.M., Chou, P. (2004). Survey of stress reactions among health care workers involved with the SARS outbreak. Psychiatr. Serv, 55(9), 1055-1057.
Bangkok Business. (2020). Volunteer Spirit "Thai people do not leave each other" in the crisis of COVID-19, we must survive. [Online]. Retrieved May 10, 2020, from: https://bangkokbiznews.com/news/detail/872635. (in Thai)
Daily News. (2020). Do it yourself easily! Hand wash gel anti-virus helper "COVID-19" [Online]. Retrieved May 10, 2020, from: https://dailynews.co.th/bangkok/757940. (in Thai)
Department of Disease Control. (2020). COVID-19 situation report. [Online]. Retrieved June 15, 2020, from: https://covid19.ddc.moph.go.th/. (in Thai)
Department of Provincial Administration. (2019). Announcement of the Central Registration Office regarding the number of citizens throughout the Kingdom. [Online]. Retrieved March 20, 2020, from: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstat_age.php. (in Thai)
Government Gazette. (2020). Ministry of Public Health on names and important symptoms of dangerous communicable diseases (Issue 3); 2020. 137(48d), 1, February 29, 2020. (in Thai)
Kapook.com. (2020). Provinces shocked, showing that the number of patients, COVIID-19, surpassed Bangkok. Spread in all regions [Online]. Retrieved June 15, 2020, from: https://covid-19.kapook.com/view222931.html. (in Thai)
Khafaie, M.A. and Rahim, F. (2020). Cross-country comparison of case fatality rates of COVID-19/SARS-COV-2. Osong Public Health Res Perspect, 11(2), 74-80.
Likassa, H.T. (2020). The impacts of covariates on spatial distribution of corona virus 2019 (COVID-19): What do the data show through ANCOVA and MANCOVA? Eurasian Journal of Medicine and Oncology, 4(2), 141-148.
Ministry of Public Health. (2020). Stay at home, stop the infection, for the nation. [Online]. Retrieved February 22, 2020, from: https://www.moph.go.th/index.php/news/read/1700. (in Thai).
Mtoday. (2020). Opening 7 strengths Thailand, close to winning the COVID-19 even Japan still complimented it as a model. [Online]. Retrieved May 10, 2020, from: https://www.mtoday.co.th/50586?fbclid=
IwAR1DzNp3eG8ZSOvje2-M8SC7IquMBN2YG9EKXEUpPhI-jLpLPKGs5o2_Xvc. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Council. (2020). Survey of business problems and needs. [Online]. Retrieved April 23, 2020, from: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10130. (in Thai)
Peng, E.Y.C., Lee, M.B., Tsai, S.T, Yang, C.C., Morisky, D.E., Tsai, L.T., et al. (2010). Population-based post-crisis psychological distress: An example from the SARS outbreak in Taiwan. J. Formos. Med. Assoc, 109(7), 524–532.
Prince of Songkla University Pattani Campus. (2020). Survey results on measures and cooperation in surveillance of the COVID-19 [Online]. Retrieved April 23, 2020, from: https://administration.pn.psu.ac.th/pr-file/21Aprilnews.pdf. (in Thai)
Roy, D., Tripathy, S., Kar, S.K., Sharma, N., Verma, S.K., Kaushal, V. (2020). Study of knowledge, attitude, anxiety & perceived mental healthcare need in Indian population during COVID-19 pandemic. Asian J. Psychiatry, 51, 1-7.
Supanimitkul, N. (2015). Islamic Insurance Business (Takaful). Master’s Thesis. International trade regulation, Faculty of Laws, Thammasat University.
Thaimoveinstitute. (2020). The power of Thai village health volunteers! WHO praises million Thai volunteers, Silent hero power fighting with COVID [Online]. Retrieved April 23, 2020, from: https://www.thaimoveinstitute.com/6032/fbclid=IwAR1P0NP3vSaB_xBAxJGoUKz9MZu8w7W9SveLCg84HmY0szZT9NFKkZOVJrc. (in Thai)
Tirakanun, S. (2010). Multivariate Analysis in Social Science Research. Bangkok: Faculty of Education Ramkhamhaeng University.
Wang, C., Pan, R., Wan, X., Tan, Y., Xu, L., Ho, C.S., et al. (2020). Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 Coronavirus Disease (COVID-19) epidemic among the general population in China. Int. J. Env. Res. Pub. Health, 17(5), 1-25.
World Health Organization. (2020). Modes of transmission of virus causing COVID-19: Implications for IPC precaution recommendations [Online]. Retrieved April 20, 2020, from: https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/modes-of-transmission-of-virus-causing-covid-19-implications-for-ipc-precaution-recommendations.
Worldometer. (2020). COVID-19 CoronaVirus Pandemic [Online]. Retrieved June 15, 2020, from: https://www.worldometers.info/coronavirus/.