การพัฒนาแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ และประมาณค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกของนักศึกษาแพทย์ มี 5 สถานการณ์ จำนวนรวม 35 ข้อ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาแพทย์ภาคเวชปฏิบัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 127 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามโครงการรับเข้า ผลการศึกษาพบว่า ข้อสอบมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.79 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.45 ค่าความเชื่อมั่นแบบความสอดคล้องภายใน สัมประสิทธิ์แอลฟา เท่ากับ 0.701 ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.67 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพ โดยพิจารณาคะแนนจากแบบทดสอบอัตนัยประยุกต์วัดความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับคะแนนการฝึกภาคเวชปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์เชิงสรุปอ้างอิงของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.921 และค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์ เท่ากับ 0.896
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลานี้ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาก่อนเท่านั้น
References
2. Iyamaneerat, C. (2015). Modified essay question: MEQ. Siriraj Medical Bulletin, 8(1), 47-57 (in Thai)
3. Medical Competency Assessment Criteria for National License. (2012). The medical council of Thailand [Online]. Retrieved January 16, 2016, from: https://www.tmc.or.th/. (in Thai)
4. Kanchanawasri, S. (2012). Modern test theory. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
5. Kuanlong, S. (2012). Quality of research tools [online]. Retrieved March 16, 2017, from: http://www.ipernity.com/blog/248956/424224. (in Thai)
6. Plunkett, W. R., & Attner, R. F. (1994). Introduction to management. New York: Wadsworth.
7. Saiyod, L. & Saiyod, A. (2000). The evaluation techniques. Bangkok: Suwiriyasarn. (in Thai)
8. Sakworavit, A. (2005). Coefficient alpha: Important information and problems in using it. NIDA development journal, 45 (1), 93-124. (in Thai)
9. Sanguanwai, C. (2015). Comparison of test reliability for measuring mathematics creative problem solving abilities: Application of generalizability theory. Master’s Thesis. Chulalongkorn University. (in Thai)
10. Simon, H. A. (1960). The ford distinguished lectures: Vol. 3. The new science of management decision. New York, NY, US: Harper & Brothers.
11. Soonthornlohanakul, S. (2004). The assessment of health knowledge and disease from adolescence to adolescence of the fifth year medical students by Modified essay questions. Songklanagarind Medical Journal, 22 (2), 117-123. (in Thai)
12. Sukthon, V. (2013). Development of learning management system utilizing quality information technology approach. Journal of Yala Rajabhat University, 8(1), 52-64 (in Thai)
13. Sumawong, W. (2006). Meded mahidol [Online]. Retrieved January 16, 2016, from: www.ped.si.mahidol.ac.th/site.../MedEd. (in Thai)
14. Thitirungruang, T. (2001). Development of modified essay question test to measure the ability in problem solving in the course on basic concepts and principles of nursing. Master’s Thesis. Thaksin university. (in Thai)
15. Whitney, D. R. & Sabers, D. L. (1970). Improving essay examination III.use of item analysis, Technical Bulletin 11. Mimeographed. LowaCity: University Evaluation and Examination Service.